การจัดการกลยุทธ์การตลาดของบริษัทส่งพัสดุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระดับกลยุทธ์การตลาด และการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการที่เคยใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ค่าความเที่ยงตรงอยู่ระหว่าง 0.66-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.963 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ย 10,001-20,000 บาท ประเภทของสินค้าที่ซื้อคือ เสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย ส่วนใหญ่ใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ใช้บริการน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการจัดส่ง ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน และมีเหตุผลในการเลือกจัดส่งคือ พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 2) ระดับ กลยุทธ์การตลาดและระดับการตัดสินใจใช้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ3) ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีตัวแปร 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านบุคคล (ꞵ = .465) ด้านการส่งเสริมทางการตลาด (ꞵ = .217) ด้านช่องทางจัดจำหน่าย (ꞵ = .168) และด้านผลิตภัณฑ์ (ꞵ = .144) มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 14.6
Article Details
References
กมลชนก หมีปาน และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2564). อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการและส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งเจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส จำกัด ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 10 (1), 25-33.
จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2543). หลักการขนส่ง. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์เซ็นเตอร์.
จุไรพร พินิจชอบ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลธิชา กิ่งจำปา และวีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล. (2558). การรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชนในเขตจังหวัดชลบุรี (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณิชาภัทร บัวแก้ว และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2561). การเปรียบเทียบลักษณะผู้ใช้บริการ คุณภาพบริการที่ได้รับและประสิทธิภาพที่ได้รับ ที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำของบริษัท ขนส่งเคอรี่ เอ็กซ์เพลส จำกัด และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (4), 1782-1796.
ทิพย์มณฑา เหล่ากสิการ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการให้บริการขนส่งสินค้าและพัสดุระหว่างเจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส และเคอรี่เอ็กซ์เพรส. วารสารศิลปะการจัดการ. 5 (1), 45-57.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัย : แนวปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
พชร ผดุงญาติ และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7 Ps) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการบริษัทขนส่ง เปรียบเทียบระหว่าง ไปรษณีย์ไทยกับ Kerry Express ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. 8 (1), 117-129.
วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งพัสดุจากการตลาดแบบออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (1), 15-26.
ศุภรัตน์ อภิชาติวงศ์ชัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการการขนส่งทางบกของ บริษัท เอ็น.พี.เอ็ม. ทรัค แอนด์ ทรานสปอร์ต จำกัด (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โควิดระบาดหนักกระทบขนส่งสินค้า. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/ Lastmile-Deli very-z3250.aspx.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA เผยมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทย ปี 63. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-the-Value-of-e-Commerce-in-2021.aspx.
อัชฌาวดี โฆษิตานนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่งเอกชน เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Aaker, D. A., Kumar, V. and Day, G. S. (2001). Marketing Research. New York : McGraw Hill.
Bearden, B., Ingram, T. & LaForge, B. (2004). Marketing, principles and perspectives (The international ed.). New York: McGraw-Hill.
Brace, N., Kemp, R., & Snelgar, R. (2012). SPSS for Psychologists. (5th ed.). New York: Palgrave Mcmillan.
Carver, C., and Scheier, M. (2004). Perspectives on personality. (5th ed.). Boston: Pearson.
Cascio, W. F. (2015). Industrial–organizational psychology: Science and practice. International Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences. 879–884.
Cochran, W. G. (1997). Sampling techniques. Hoboken, NJ John Wiley & Sons, Inc.
Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Etzel, Michael J., Walker, Bruce J., & Stanton, William J. (2001). Marketing. (12th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Kotler, Philip. (2000). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.
Kotler, Philip & Keller, Kevin Lane. (2012). Marketing Management. (12th ed.). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2 (1), 49-60.
Schiffman, G. and, L. Kanuk. (1997). Consumer Behavior. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall International.