การส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

นุชณา ภัทรไพบูลย์ชัย
นารีรัตน์ สีระสาร
จรรยา สิงห์คำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง (3) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังของเกษตรกรประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตกรผู้ผลิตมันสำปะหลังในตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จากการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการเพาะปลูก 2563/64 จำนวน 220 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 142 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ
          ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.55 ปีจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 21.74 ไร่ มีแรงงานในการทำการเกษตรเฉลี่ย 2.44 คน มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 4.90 ปี มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 264,223.94 บาทต่อปี ร้อยละ 44.4 เข้ารับการอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง จากสำนักงานเกษตรอำเภอ (2) เกษตรกรผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังไว้ใช้เอง ใช้พันธุ์แขกดำ มีการเข้าสำรวจแปลงเฉลี่ย 29.37 ครั้งต่อปี การใช้สารเคมีตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก (3) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังระดับมากที่สุดในด้านการตลาด (4.38) เรื่องการประกันราคาผลผลิต (4.54) และต้องการความรู้เรื่องการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง (3.95) (4) ปัญหาในการส่งเสริมการผลิตท่อนมันสำปะหลัง ด้านองค์ความรู้ (3.69) พบว่าเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง (3.73) และการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง (3.71) ด้านการตลาด (3.76) พบว่า ไม่มีการประกันราคาผลผลิต (3.80) และไม่มีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน (3.66) ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เรื่องโรคและแมลงศัตรูมันสำปะหลัง รวมถึงการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2563). สินค้ามันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://api.dtn.go.th/files/v3/5e871694ef 4140 f16b 21b86a/download.pdf

กรมวิชาการเกษตร. (2563). คู่มือการผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดและมีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร

ชนิดา เกตุแก้วเกลี้ยง. (2557). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). สถานการณ์มันสำปะหลังที่เปลี่ยนแปลงไป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ

พฤศจิกายน 2564.แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ NorthEastern/DocLib_Research/cassava_situation_change.pdf

ปภาดา เผ่าเพ็ง (2562). แนวทางการส่งเสริมเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันส าปะหลังของเกษตรกรตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยะธิดา อ่อนพันธ์. (2557). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอสระโบสถ์

จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต เกษตรศาตร์และสหกรณ์ ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญถม คำภาค. (2557). การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ววิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัทยา ชุมเพชร. (2562). ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต เกษตรศาตร์และสหกรณ์ ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทองคำ พิลากรณ์. (2554). ความต้องการการพัฒนาการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่หลังนาของเกษตรกรในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเกษตรอำเภอพยุหะคีรี. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ ปี 2562 อำเภอพยุหะคีรี. นครสวรรค์

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สศท.12 เผยตัวเลขมันสำปะหลัง ภาคเหนือตอนล่างปี 65 ผลผลิตรวม 5.69 ล้านตัน แนะเกษตรกรเก็บเกี่ยวหัวมันฯ ครบอายุ ช่วยเปอร์เซ็นต์แป้งสูง ขายได้ราคา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th/view/ 1/36922/TH-TH

Abiodun Olusola Omotayo & Adefemi Joana Oladejo (2016) Profitability of Cassava-based Production Systems, Journal of Human Ecology. 56 (1-2), 196-203

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1977.

Omonona BT 2009. Efficiency of resource use in cassava production in Kogi State, Nigeria: Implications for food security and environment degradation. Journal of Agricultural Science. 4, 29–37

Raphael 10 2008. Technical efficiency of cassava farmers in south eastern Nigeria. Stochastic Frontier Approach, 3 (2), 152–156.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications