การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อประสม รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

เจนจิรา อบกลิ่น
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อประสม รายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5” การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อประสม ให้มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อประสม ให้มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนอนุบาลนครจัมปาศรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 การจำนวน 24 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อประสม จำนวน 6 แผน จำนวน 12 ชั่วโมง  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  1. แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อประสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.42 คิดเป็นร้อยละ 72.08 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 79.17 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับสื่อประสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.92 คิดเป็นร้อยละ 76.39 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2549). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.

จาตุรนต์ ปะกินำหัง, ภคมน ยางหงส์ และ พูนทรัพย์ กันหา. (2553). ระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลนครจัมปาศรี. โรงเรียนอนุบาลนครจัมปาศรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

ทุติยาภรณ์ ภูมิดอนมิ่ง.(2551).ความรู้ความเข้าใจในวิธีการทางประวัติศาสตร์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 3 ถึง 4) ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรธร เลอศิลป์. (2554). ผลการใช้กิจกรรมสื่อประสมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม (SPE 3601) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. รายงานการวิจัยชั้นเรียน: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปรียา บุตรไธสงค์. (2559). ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่องพัฒนาการกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐ์ชฎิล มาอิ่นแก้ว. (2561). ผลการใช้วิธีทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์และเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารอิเล็กทรอนิกส์. 13 (1), 410 – 422.

ลัดดา ชัยหาทัพ, และนิลมณี พิทักษ์. (2558). ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาการคิดวิเคราะห์ โดยการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังกราฟฟิก รายวิชา ส 22102 ประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 38 (4), 73-76.

วรางค์ภัทร์ สุขเรือน. (2555). การสร้างและการใช้สื่อประสมตามแนวคิดการเรียนรู้ดดใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง ชีวิตสัตว์ วิชาวิทยาศาสตร์ 4 ( ว 22102 ) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสงวนหญิง. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกสรศาสตร์ วิทยาเขกำแพงแสน ครั้งที่ 9.

วิภาดา ต๊ะวงศ์. (2554). ผลการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองสี่มหาราชที่มีต่อผลสัมฤทธทางการเรียนและการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลเพชรวิทย์ จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุลักขณา คุ้มทรัพย์. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมสิทธิ จิตรสถาพร. (2547). สื่อการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.