การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับสื่อประสม

Main Article Content

จตุรภัทร ไสยสมบัติ
ฐิติวรดา พลเยี่ยม

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) รูปแบบ The single group, Pretest-Posttest Design มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับสื่อประสม ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับสื่อประสม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ t-test (Dependent Sample)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับสื่อประสมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.65/83.18  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานตพงศ์ จันทร์ทอง. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สาระประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาร่วมกับการโค้ช. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

กิดานันท์ มลิทอง. (2559). สื่อการสอนและการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

ตฤณวัฒน์ พลเยี่ยม. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิชา สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบซิปปาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้ง ที่ 23). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ งามวาจา. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปู่เจ้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้เทคนิคการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model). วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์กรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563. มหาสารคาม: โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

มินตรา กันคำ. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบซิปปา ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วันเพ็ญ กลิ่นอ่อน. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://drive.google.com/file/d/1 MDQEDkqGs01PnyzqEnyTVVNTS776ObCz/view.

สิรภพ พลสุวรรณ. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อประสมเรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ่นส่วนจำกัดแพร่ไทยอุตสาหกรรมการพิมพ์.

อภิญญา ยะนะโชติ. (2559). การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวน การคิดวิเคราะห์ เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาโดยการใช้สื่อประสมและเกมประกอบการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 22 (ฉบับพิเศษ), 384–395.