ความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 2) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิต ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ในปีการศึกษาต่อไป การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการออกแบบ การสร้างแบบสอบถาม หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม และส่งแบบสอบถามให้ผู้ใช้บัณฑิตตอบแบบสอบถาม จำนวน 23 คน โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ใช้สถิติพื้นฐานโดยหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีระดับความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของบัณฑิต หรือความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะของบัณฑิตจากมากไปน้อย พบว่า ด้านคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กองวิเทศสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2561). ความพึงพอใจของ ผู้ใช้บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 รุ่นปีการศึกษา 2559. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยกองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี.
ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2536). การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา.สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์
ผ่องใส ถาวรจักร. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต วิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2554.
พินิจ มีคำทอง และ โกวิทย์ แสนพงษ์. (2562). เทคนิคการวิเคราะห์สภาพการพัฒนาเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9 (3), 111-120.
มีศิลป์ ชินภักดี. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารการปฏิรูปการศึกษาสาหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รัชดาภรณ์ ตันฑิกุล. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
รุ่งนภา จันทรา, เพ็ญศรี ทองเพชร และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของ นักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 9 (4), 90-101.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา. (2560). ความพึงพอใจของนายจ้างผู้ประกอบการผู้บังคับบัญชาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรนันท์ หาญยุทธ และรัชยา รัตนะถาวร. (2556). คุณภาพและอัตลักษณ์ของบัณฑิตคณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2553. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย. 7 (2), 99-107.