ความร่วมมือของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานภาคีในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

Main Article Content

ธิดาพร ลครพล
ปานปั้น รองหานาม

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน ของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานภาคี ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภูผาม่าน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ชุมชนโดยรอบ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยนี้จำแนกการเก็บข้อมูลออกเป็นด้านความร่วมมือและด้านปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจชุมชน และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ รวมกับข้อมูลเอกสารและการลงพื้นที่ไปศึกษาสภาพแวดล้อมและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
          ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการดำเนินงาน ของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานภาคี ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภูผาม่าน โดยหน่วยงานภาคี ที่มีส่วนในการดำเนินงานด้านการจัดการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน  ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน หน่วยงานเหล่านี้มีการประสานความร่วมมือ โดยอุทยานแห่งชาติภูผาม่านเป็นหน่วยงานภาครัฐมีพันธกิจสำคัญในการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติภูผาม่านดำเนินการการสร้างให้ชุมชนและประชาชนในพื้นที่มีการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และให้ตระหนักรู้ถึงระบบการแบ่งปันค่าตอบแทนไปยัง อปท. โดยรอบ เมื่ออุทยานมีรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามา นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติภูผาม่านยังดำเนินการประสานประโยชน์ไปสู่ท้องถิ่น ด้วยการประชาสัมพันธ์ด้านแหล่งที่พัก ร้านค้าและบริการท้องถิ่น โดยแนะนำทางเลือกของการพักแรมชั่วคราวทั้งที่มีอยู่ของอุทยานและสถานประกอบการต่างๆ ของชุมชน สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้ อปท. และชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน การเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ด้านการสื่อการ การให้ความช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยาน และภาคเอกชนมีการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวของภูผาม่าน และมีส่วนร่วมในการประชุมรับทราบข้อมูลและปัญหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของภูผาม่านเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการทำให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว ด้านนักท่องเที่ยว และสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2564). ข้อมูลสถิติอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2564. แหล่งที่มา https://www.dnp.go.th/statistics/dnpstatmain.asp

จินต์จุฑา วัฒนาบรรจงกุล. 2562. การศึกษาถึงประโยชน์ที่เกิดจากการทำแนวคิดร่วมสร้าง (Co-Creation) ระหว่างองค์กรรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชนในกรุงเทพมหานคร กับ พนักงานหรือ Partner ด้วยวิธีการจ้างแบบ Outsourcing. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ:มหาวิทยาลัยมหิดล.

เทษบาลตำบลภูผาม่าน. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวเทศบาลตำบลภูผาม่าน พ.ศ.2559-2563.

ออนไลน์. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, แหล่งที่มา: http://www.phuphaman.go.th/images/ stories/planpdf/plantour5963.pdf

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 30. ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการเก็บ การรักษา การใช้จ่ายเงินรายได้เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ข้อ 4.