การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

วชิราพร บุนนท์
เอกลักษณ์ เพียสา
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความสอดคล้อง ระหว่าง 0.80 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .42-.97 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการจัดทำกลยุทธ์ 2) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบ และ 3) ด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์
          2. ตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย 60 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นด้านการจัดทำกลยุทธ์ จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ และด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์ จำนวน 19 ตัวบ่งชี้
           3. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi - Square = 34.93 df = 56 p - value = 0.09 GFI = 0.99 AGFI = 0.98 RMSEA =0.00 CN = 940.32 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.01 ด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์มีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.99 ด้านการจัดทำกลยุทธ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.98ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล Good Governance. กรุงเทพ มหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management (ฉบับ ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐวัฒน์ พระงาม. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC MANAGEMENT) . พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยพิษณุโลก

ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2552). การบริหารเชิงกลยุทธ์และการแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตรพัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ่ล กรุ๊ป.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การวิจัยและตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).

พสุ เดชะรินทร์. (2553). รู้ลึกในการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิบูล ทีปะปาล. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์: Strategic Management. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อมรการพิมพ์.

มณฑา จำปาเหลือง. (2553). การบริหารการศึกษา : การบริหารเชิงกลยุทธ์. เพชรบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ยูนิเซฟ ไทยแลนด์. (2559). นโยบายห้าประการด้านเด็กและเยาวชนที่รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.unicef.org/thailand/ th/stories/

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2555). ASEAN อาเซียน รู้ไว้ได้เปรียบแน่. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.

สุมนรัตน์ สกุลสิริทรัพย์. (2550). การกำหนดกลยุทธ์การเพิ่มการเติบโตของรายได้ในธรุกิจผลิตรายการประเภทสารคดีโทรทัศน์ กรณีศึกษา บริษัทแพลตินั่มครีเอชั่น จำกัด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุพาณี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ แนวคิด และทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2564). กลุ่มบริหารงานบุคคล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.unicef.org/thailand/th/stories/.

Burstein, L., Oakes. J., & Guiton, G. (1992). Education indicators. In M.C. Alkin (Ed.), Encyclopedia of Educational resrarch. New York: Mac Millan.

Bateman, T. S., & Snell, S. A. (1999). Management: Building Competitive Advantage (4th ed.). Boston: Irwin McGraw-Hill.

Johnstone, J. M. (1981). Indicators of Education System. London: The Ancho Press.

Johnson G., and Scholes, K. (2003). Exploring Corporate Strategy, Texts and Cases. 5th ed. Hemel Hempstead: Prentice Hall.

Nardo, M., Saisana, M., Saltelli, A., and Tarantola, S. (2005). Tools for Composite Indicators Building. Joint Research Centre, European Commission.

Ireland O. D., Hitt, M. A., & Hoskisson, R. E., , Mason, , Strategic Management: Competitiveness and Globalization, (7th Ed.) (Ohio: Thomson/South-Western,2007), 372

Schermerhorn, J. R.Jr. (2002). Management. New York : John Wiley & Sons.

Thompson A. A. (2001). Strategic Management: Concepts and Cases, 12 ed. Toronto: McGraw-Hill.

Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2006). Strategic Management and Business Policy. (10th ed). New Jersey : Pearson Prentice Hall.