ความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสืบสวนสอบสวนของข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2

Main Article Content

เดวิท ไชยสาร
ศาศวัต เพ่งแพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสืบสวนสอบสวนของข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสืบสวนสอบสวนของข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ประชากรในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ศึกษาจากประชากรทั้งหมด จำนวน 311 นาย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD. และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสืบสวนสอบสวนของข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36, S.D. = .574) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่หนึ่ง คือ ด้านการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต รองลงมา คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านซอฟต์แวร์ และด้านการใช้งานระบบ ตามลำดับ โดยปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ต่างกันมีระดับความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสืบสวนสอบสวน แตกต่างกันเพียง 2 ปัจจัย ได้แก่ ระดับการศึกษา และระดับยศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรพิจารณาเกี่ยวกับงบประมาณด้านวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งานใช้ในการปฏิบัติงาน และควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทุกระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ช่างหลอม. (2559). ปัญหาและความต้องการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

กองบังคับการตำรวจนครบาล 2. (2559). รายงานผลวาระการประชุมรับมอบหมายงานระหว่างกับข้าราชการตำรวจกับผู้กำกับการกองกำกับการตำรวจนครบาล 2. กรุงเทพมหานคร: กองบังคับการตำรวจนครบาล.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 200 ทัศนะไอที. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ภานุภัทร กิตติพันธ์. (2561). การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ กรณีศึกษาหมายจับของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจนครบาล 5. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต: สถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ.

วิลาวัลย์ เพชรมณี. (2554). ความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานตามโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารงานเงิน การคลัง ภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) กรณีศึกษา กรมการเงินทหารบก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สมเกียรติ พงษ์จำนง. (2553). ประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานสืบสวนของข้าราชการตำรวจฝ่ายปฏิบัติการข่าว 3, 4 กองบังคับการตำรวจสันติบาล 1 กองบัญชาการตำรวจ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. โครงการบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สมโภชน์ เข็มเพชร์. (2552). ปัญหาการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาใช้ในงานตำรวจ กรณีศึกษา : กองบังคับการปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุภาวดี เชื้อวงษ์. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรรธนิศา สายบัว. (2549). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ตามนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.