สภาพและแนวทางการดำเนินงานของครูที่ให้การดูแลการจัดประสบการณ์เรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ยุพารัตน์ กงจีน
ทัศนะ ศรีปัตตา

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของครูที่ให้การดูแลการจัดประสบการณ์เรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์และ 2) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานของครูที่ให้การดูแลการจัดประสบการณ์เรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 21 คน หัวหน้าสถานศึกษาจำนวน 77 คน นักวิชาการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 33  คน ที่ปฏิบัติงานในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้นจำนวน 103 คน สุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานของครูที่ให้การดูแลการจัดประสบการณ์เรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ  การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย google form และวิเคราะห์ผลการวิจัยโดย  วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ  วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแนวทางการดำเนินงานของครูที่ให้การดูแลการจัดประสบการณ์เรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  อําเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) สภาพและการดำเนินงานของครูที่ให้การดูแลการจัดประสบการณ์เรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ รองลงมา ได้แก่ ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษา และการสื่อสาร และด้านที่มีระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการดูแลและพัฒนาอย่างรอบด้าน และ
           2) แนวทางการดำเนินงานของครูที่ให้การดูแลการจัดประสบการณ์เรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า 2.1 ด้านการดูแลและพัฒนาอย่างรอบด้าน พบว่า ควรจัดแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560 จัดกิจกรรมที่บูรณาการหลากหลาย เน้นพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน เช่น ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา  และการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขโดยส่งเสริมพัฒนาผ่านการเล่น  ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจัดอบรมเรื่องการแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.2 ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ พบว่า  ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น จัดกิจกรรมแปรงฟัน  ล้างมือ  ให้ใช้โปรแกรม thai school lunch  ในการคำนวนสูตรอาหารให้เด็กได้รับประทานอาหารหลัก ครบ 5 หมู่ ได้ดื่มนม และน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ   ตลอดจนการประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอ สรุปผลการประเมินและรายงานผลให้ผู้ปกครองทราบ   มีการติดต่อประสานงานขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ใกล้เคียงในการตรวจสุขภาพเด็กและประเมินพัฒนาการต่างๆ 2.3 ด้านการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษา และการสื่อสาร พบว่า จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้เด็กมีทักษะด้าน การใช้ภาษาในการสื่อความหมาย ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้อย่างเหมาะสมตามวัย และหลากหลาย เน้นจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวผ่านการเล่น  เช่น  กิจกรรมฝึกตอบปัญหา ฝึกเล่านิทาน   นำเสนอผลงานของตนเอง ตลอดจนควรจัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านภาษา ให้กับครู  2.4 ด้านอารมณ์ จิตใจ-สังคม ปลูกฝังคุณธรรมและความเป็นพลเมืองดี  พบว่า ควรการส่งเสริมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับที่ปลูกฝังจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม มารยาทและการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่น และส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่ดีและมั่นคง ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก โดยให้ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินมีอารมณ์แจ่มใส  ส่งผลให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง 2.5 ด้านการส่งเสริมเด็กในระยะเปลี่ยนผ่านให้ปรับตัวสู่การเชื่อมต่อในขั้นถัดไป พบว่า ควรให้คำแนะนำผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเตรียมตัว อย่างไร เช่น การปรับเปลี่ยนเวลา และวิถีประจำวัน การนอน การตื่น  การเปลี่ยนสถานที่  ให้ผู้ปกครองทำความเข้าใจและไปเตรียมเด็กตามลำดับ เพื่อให้เด็กได้เกิดความคุ้นเคย และปรับตัวได้ง่าย  ควรมีการอบรมการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแนะแนวการเตรียมตัวก่อนการเปลี่ยนผ่านให้กับครูเพื่อใช้ในการแนะแนวทางให้ผู้ปกครอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการดูแลเด็กระบบเปลี่ยนผ่าน ระหว่างครูกับผู้ปกครอง  ตลอดจนจัดหาช่องทางการติดต่อระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนะชัย คงมั่น. (2564). ศึกษาสภาพการดำเนินงานของครู/ผู้ดูแลเด็กในการดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่น เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ฐิติมา ชูใหม่. (2559). การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 1 (2), 18 -32.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). เทคนิคการรับมือกับเด็กนักเรียนในห้องเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2562. แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/blog/content/68010/-teaartedu-teaart -teaarttea-

เปรมวราพร พิณจิรวิทย์. (2558). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนอนุบาล 1 โดยการประยุกต์ใช้การวิจัยเป็นฐาน. โรงเรียนบ้านสามหลัง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ทัศนา แก้วพลอย. (2554). การคลายการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การเล่นน้ำเล่นทรายในกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิตโสภิณ โสหา. (2561). การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา: สภาพและปัญหาของครู. หลักสูตรวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ภิญญดาพัชญ์ เพ็ชรรัตน์. (2551). การศึกษาความเข้าใจของผู้บริหารและครูปฐมวัยเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาแรกเริ่มของเด็กปฐมวัยในจังหวัดชลบุรี. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัศมี ตู้จินดา. (2557). การบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

เสาวรักษ์ คำภิละ. (2561). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบนพื้นที่สูง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วลัยรัตน์ จันทร์เสมา. (2554). ความสามารถในการสื่อสารแบบวัจนภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัมรินทร์ แย้มเพ็ง. (2563).ผลการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมนิทานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยโรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร. สาขาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.