การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ DR-TA ร่วมกับเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ DR-TA ร่วมกับเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้แบบ DR-TA ร่วมกับเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนให้สูงกว่าหลังก่อนเรียน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนอนุบาลกิติยา จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 42 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA ร่วมกับเทคนิค 5W1H และแบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ The Wilcoxon Matched Pair Signed-Ranks Test (Nonparametric Tests)
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีการพัฒนาที่ดีขึ้นตามคะแนนระหว่างเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ DR-TA ร่วมกับเทคนิค 5W1H เฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 23.37 ( = 23.37, S.D.= 0.70) คิดเป็นร้อยละ 77.91 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ DR-TA ร่วมกับเทคนิค 5W1H มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กมลพร ทองนุช และ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถใน การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ระหว่างการ จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1H และการสอนปกติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2338.ru.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ก). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
ขวัญฤทัย มูลทาทอง. (2558). ผลการสอนด้วยวิธี DR-TA เสริมด้วยวิธี Story Impression และการใช้คำถาม 5W1H ต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2546). การอ่านและการสร้างความสามารถในการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ศิลปะบรรณาคาร.
นงเยาว์ ทองกําเนิด. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นรินธน์ นนทมาลย์. (2554). ผลของการแทรกเทคนิคการตั้งคําถาม 5W1H ในวิดีโอบรรยายออนดีมาน บนเว็บ 2.0 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พัทธมน หน่อสุวรรณ. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการสอนการอ่านแบบ DR-TA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ภิรมย์ญา สุธรรม, ไพสิฐ บริบูรณ์ และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามกลวิธีชี้นำการอ่านและการคิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8 (22), 91-100.
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2555). เทคนิคการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 12).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
Harris. A.J., and E.R. Sipay. (1979). Effective Teaching of Reading. New York: David, Nokey Company Inc.
Stauffer, Russell G. (1975). Directing and Reading-Thinking Process. New York: Harper and Row.
Tierney, Robert J., John E. Readence and Ernest K. Dishner. (1995). Reading Strategies and Practices, (3rd ed). Massachusetts: Allyn and Bacon.