ผลกระทบของความสัมพันธ์โซ่อุปทานระหว่างผู้ซื้อและผู้จัดหาที่มีต่อผลการดำเนินงานของผู้จัดหาในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

Main Article Content

สมบูรณ์ สารพัด
นิตยา โหราเรือง
เปรมิศา ปราณี

บทคัดย่อ

          เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ การแลกเปลี่ยนทางธุรกิจในรูปแบบของการซื้อ การขาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และปฏิเสธไม่ได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้จัดหาในระบบห่วงโซ่อุปทานจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้น งานวิจัยนี้ต้องการตรวจสอบอิทธิพลลักษณะความสัมพันธ์ในโซ่อุปทานระหว่างผู้ซื้อและผู้จัดหาต่อผลการดำเนินงานของผู้จัดหาในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้เครื่องมือการวิจัยที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงแล้วรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนของฝ่ายจัดหาที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 224 ราย ในนิคมอุตสาหกรรม 304 ปราจีนบุรี เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการสร้างความสัมพันธ์ในโซ่อุปทาน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านความไว้วางใจ ด้านความร่วมมือ และ ด้านการตอบสนองความต้องการ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการดำเนินงานในภาพรวมของผู้จัดหา โดยมีความสามารถอธิบายได้ร้อยละ 40.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากผลการวิจัยผู้จัดควรจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาการสื่อสารเพราะการสื่อสารมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานในทุกด้านและเป็นตัวแปรที่อิทธิพลสูงที่สุด ผู้จัดหาอาจจะนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นของลูกค้าให้รวดเร็ว  นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความไว้วางใจ ผ่านการทำให้บรรลุถึงเงื่อนไขและขอตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2557. การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยณรงค์ ไผ่รุ่ง. 2552. ผลกระทบของการจัดการความร่วมมือและคุณภาพสารสนเทศที่มีต่อประสิทธิผลห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพชร์รัตน์ ลิ้มสุปรียารัตน์. 2547. แนวทางการประเมินการจัดการโซ่อุปทานในงานก่อสร้าง. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชิต อู่อ้น. 2550. การวิจัยและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: พรินท์แอทมี.

ศรายุทธ ตรัยศิลานันท์. 2554. ความสัมพันธ์ห่วงโซ่อุปทานระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบกับผู้ซื้อในอุตสาหกรรมอาหารจังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศูนย์วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). 2562. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-64: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/

สถาบันยานยนต์. 2555. แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงอุตสาหกรรม.

Bhagwat, R. and M. K. Sharma. 2007. “Performance Measurement of Supply Chain Management: A Balance Scorecard Approach.” Computer& Industrial Engineering. 43-62.

Fierro, J. C. and Y. P. Redondo. 2008. “Creating Satisfaction in the Demand – Supply Chain: The Buyer’s Perspective.” Supply Chain Management: An International Journal. 13(3): 211–224.

Fynes, B., Voss, C., & de Búrca, S. (2005). The impact of supply chain relationship dynamics on manufacturing performance. International Journal of Operations & Production Management. 25 (1), 6-19

Kaplan, R. S. and D. P. Norton. (1996). “Using the Balanced Scorecard as a Strategy Management System” Harvard Business Review 74 (1), 75–85.

Kaplan, R. S. and D. P. Norton. (1996). The Balanced Scorecard - Translating Strategy into Action. Boston: Harvard Business School Press.

Lambert, D. M., M. C. Cooper and D. P. Jagh. 1998 “Supply Chain Management Implementation Issues and Research Opportunities.” International Journal of Logistics Management . 9 (2), 1–19.

Leenders, M.R., J.P. Fraser, A.E. Flynnand H.E. Fearon. 2006. Purchasing and Supply Management with 50 Supply Chain Cases. (13th ed). New York: McGraw-Hill.

Tan, K.C. 2002. “Supply Chain Management: Practices, Concerns, and Performance Issues.” Journal of Supply Chain Management. 38 (1), 42-53.

Yamane, Taro. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper andRow Publication.