การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ฐิติพร ฉิมย้อย
วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง
วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐแนวใหม่ 2) ระดับประสิทธิผลในการบริหารงาน และ 3) ปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับของปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยสามารถเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน และด้านการวัดและประเมินผล
          2. ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยสามารถเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ด้านความพึงพอใจ ด้านคุณภาพ ด้านผลผลิต และด้านประสิทธิภาพ
          3. ปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กริช เทียมสุวรรณ์. (2560). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กิตติพงษ์ พิพิธกุล, ภูวนิดา คุนผลิน, และ กนกอร บุญมี (2562) การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8 (1), 97 – 106.

ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ในการบริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีเทศบาลในจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสมาคมวิจัย. 18 (1), 90 - 96.

ทรัพย์อนันต์ ชูศรีทอง. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21 (1), 111 – 122.

ธันย์ณิชา มโนนิติธรรม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/298

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (2560). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. ออนไลน์. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่.

เพชรรัตน์ เอี่ยมสอาด (2559) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลใน จังหวัดนครสวรรค์. รายงานการประชุมสัมมนาวิชาการ ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1, 847 – 858.

วิภาภัทร์ ธิโนชัย. (2562). ปัจจัยการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6 (2), 207 – 224.

สมนึก แก้วมณี. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่งในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564-2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุนารี สุกิจปาณีนิจ, ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน, และ โสภาพร กล่าสกุล. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะ เชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร Veridian E-journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts). 12 (5). 1157 - 1172.

หฤทัย จางวาง. (2554). ประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานภาครัฐของสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา. (2562). การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาประจำปี พ.ศ.2562. สุพรรณบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา.

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา. (2563). การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาประจำปี พ.ศ.2563. สุพรรณบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา.

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.huana.go.th/content/information/1

Heffron, Florence A. (1989). Organization Theory and Public Organizations. New Jersey : Prentice Hall

Sein-salhai, S.P. (2005). New Public Management, Principle, Approach, Concept and Thai Case Study. Nontaburee Publishing : Sukhothai University.