การสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการ ช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

สุพัตรา ยาวิชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาประจำจังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและอายุ  การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่รับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาประจำจังหวัดปราจีนบุรี  ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  One-way ANOVA
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา ด้านกระบวนการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม ด้านกระบวนการประเมินความสามารถพื้นฐานเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านกระบวนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และด้านกระบวนการประเมินความก้าวหน้า ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ ตามลำดับ
          2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี พบว่า ผู้ปกครองที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอายุต่างกัน มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560- 2564). กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

กิ่งนภา ไชยพรม. (2561). ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญสิตา วงศรี. (2560). ศึกษาสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ปนัฐฐา จันทร์บุญจันทร์. (2560). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก, หน้า 2-5

วุฒิชัย ใจนะภา. (2563). ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับปัจจัย ที่ใช้ในการตัดสินใจส่งบุตรหลานที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เข้ารับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 11 (2), 45-46.

ศุภวิทย์ วชิรวรรณ. (2563). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนบ้านคอกช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. The National Conference Nakhonratchasima College. 12 (1), 667.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). คู่มือการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) เด็กพิการสำหรับโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2564). ความต้องการจำเป็นของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเอกศึกษาขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 21 (2), 41-42.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7 th Ed.). New York: Routledge.