การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

Main Article Content

เจษฎา กลยนีย์
วาโร เพ็งสวัสดิ
บุญมี ก่อบุญ

บทคัดย่อ

          การศึกษามีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นฐานหลักของการพัฒนาโดยมีเป้าหมายให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีความรู้เชิงวิชาการและสมรรถนะทางวิชาชีพ งานวิชาการเป็นงานสำคัญที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ และต้องมีความรู้ความเข้าใจในขอบข่ายของงาน สามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ตามกรอบงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เช่น มาตรฐานความรู้เรื่อง การพัฒนาวิชาชีพ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ การบริหารสถานศึกษา หลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา และอื่น ๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) เพื่อพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา การดำเนินการมี 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.30 - 0.78 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.97 และระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมโดยอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. องค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบหลัก 1 การบริหารจัดการการเรียนรู้ องค์ประกอบหลัก 2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา องค์ประกอบหลัก 3 การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา องค์ประกอบหลัก 4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และองค์ประกอบหลัก 5 การจัดหาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
          2. พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย 65 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นองค์ประกอบหลัก 1 การบริหารจัดการการเรียนรู้ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลัก 2 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลัก 3 การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลัก 4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบหลัก 5 การจัดหาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้
          3. โมเดลโครงสร้างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 81.08, df = 67, p-value = 0.11566, GFI = 0.98, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.023, CN=460.60) และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 65 ตัวบ่งชี้ ระหว่าง 0.34 – 0.51
          4. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูน, ประภาศ ปานเจี้ยง และยรรยง คชรัตน์. (2560). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยภาคใต้. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. (หน้า 415-430). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รอง ปัญสังกา. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ลือชัย ชูนาคา. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรุณยุภา แก้วสมทอง. (2560). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.