บทบาทคณะผู้บริหารและการพัฒนาชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ องค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

เกษตรชัย บุญคง
ภมร ขันธะหัตถ์
ธนิศร ยืนยง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับบทบาทคณะผู้บริหาร การพัฒนาชุมขนและประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี 2) บทบาทของคณะผู้บริหารและการพัฒนาชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี และ 3) เสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี เป็นวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 คน.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
          ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับบทบาทของคณะผู้บริหารและการพัฒนาชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ การบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำแผนพัฒนาและข้อบังคับ การรายงานผลการทำงาน และการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการมอบหมาย และการพัฒนาชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค การศึกษา และเศรษฐกิจชุมชน และประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การบรรลุเป้าหมาย ประสิทธิภาพ ทักษะการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การบูรณาการ การปรับตัว ความเห็นพ้องในเป้าหมาย และด้านการคงสภาพความสมบูรณ์ของระบบค่านิยม ตามลำดับ (2) บทบาทของคณะผู้บริหาร กับการพัฒนาชุมชน ด้านการศึกษา ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ (3) ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้นำทักษะที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนม์ณภัทร เจริญราช. (2559). การบูรณาการวิจัยกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 11 (2), 147-163.

แดนไทย ต๊ะวิไชย . และคณะ. (2561). ปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดน่าน. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 5 (2), 17-24.

ธันย์ชนก บุตรโต. (2559). ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นพพร นาคแสง. (2555). ประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิ ราช.

มุทิตา คงกระพันธ์. และคณะ. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. มหาวิทยาลัยศิลปากร:ม.ป.ท.

รุ่งธรรม ธรรมรักษ์. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม กรณีศึกษา เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิภา รุ่งจรัส. และคณะ. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6 (2), 119-128.

สมบัติ อ่ำสุด. และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในที่ว่าการอำเภอ จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 7 (1), 171-177.

สุพจน์ บุญวิเศษ. (2563). การสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 9 (1), 84-108.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์ (2561). ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12 (28), 187-196.

ส่วนบริหารและพัฒนาเทคโนโลยีการทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. ( 2563). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.bora.dopa.go.th/index.php/th/.

อภิชาติ เทพชมภู. และคณะ. (2558). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ของผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารจันทรเกษมสาร. 21 (41), 49-58.

Bass, B. M. & Avolio, (1994). Improving organization effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks: Sage.

Bhutanaro, T. (2017). Leadership and Community Development. Source https://www.goto know.org/posts Retrieved on June 11, 2563.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3 rdEd.New York. Harper and Row Publications.

Hoy, Wayne K; and Miskel, Cecil G. (1991). Educational Administratio : Theory, Research And Practice. (4th ed). New York: McGraw – Hill.