การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหารายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E learning ร่วมกับการใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E learning ร่วมกับการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E learning ร่วมกับการใช้สื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไปกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาแบบอัตนัย จำนวน 6 สถานการณ์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยเท่ากับ 23.94 คิดเป็นร้อยละ 79.81 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 24.83 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.78 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้
Article Details
References
กนกวรรณ เข็มภูเขียว. (2561). ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรวิทย์ เกื้อคลัง และคณะ. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเรื่อง สภาพสมดุล และสภาพยืดหยุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 18 (2), 124-135
ฉลองวุฒิ จันทร์หอมจุฬาภรณ์ ทองสีนุช และ จีระวรรณ เกษสิงห์. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 46 (212), 32-36.
ชฎาลักษณ์ จิตราช. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. วันที่ 27 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.bpp.mua.go.th/
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 17 (2), 11-15.
โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2563). รายงานประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาภาตะวันออกเฉียงเหนือ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสิ้นค้าและพัสดุภัณฑ์
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). บทวิเคราะห์อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และด้านการศึกษา ประจำปี 2562 จากรายงาน IMD World Competitiveness Yearbook 2019. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://stiic.sti.or.th
อภิญญา เพือดสิงห์. (2560). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหารายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ร่วมกับสถานการณ์จำลอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Dewi Susanti Kaniawati and Suryadi Sman (2016). Integration of STEM Education In Learning Cycle 6E To Improve Problem Solving Skills on Direct Current Electricity. Paper presented at the International Conference on Mathematics, Science, and Education, Indonesia.