การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA model) ร่วมกับเทคนิค หมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA model) ร่วมกับเทคนิค หมวก 6 ใบ ให้มีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาขอนแก่น จำนวน 36 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA model) ร่วมกับเทคนิค หมวก 6 ใบ ที่เน้นทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ในวรรณคดีและวรรณกรรม เรื่อง นิราศภูเขาทอง จำนวน 12 แผน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบการอ่านเชิงวิเคราะห์ ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA model) ร่วมกับเทคนิค หมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.59 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.24 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA model) ร่วมกับเทคนิค หมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.70 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.06 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 ของนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
จิตตรา พิกุลทอง. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA model) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชลวษา ปิยะนฤพัทธ. (2551). การศึกษาผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการซิปปา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุมพล วงศ์เพชรชารัต. (2555). ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA model) เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรสุดา อินทร์สาน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
มุทิดา ทวีนันท์. (2558). การพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้ชุดกิจกรรมเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 17 (2), 11-15
ลาวัณย์ สังขพันธ์ธานนท์และคณะ. (2549). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต Reading for Life Quality Improvement. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรนารถ แสงนคร. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บโดยใช้เทคนิคหมวกหกใบ เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วรรณา การเฉื่อยเฉิน. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแบบวัฏจักรการ เรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชราพร แพงโสภา. (2562). การศึกษาผลการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้ซิปปา (CIPPA model) ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2558). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.
สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา. (2555). สถาบันวิจัย พัฒนาและสาธิตการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มศว องครักษ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการกาศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช. 2554 แนวทางการบริหารจัดการ หลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชน
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อรศิริ เจือจันทร์. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้ชุดการเรียนรู้นิทานพื้นบ้านอีสานประกอบภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
สมันตา วีรกุล. (2547) .หมวกหกใบคิดหกแบบ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.