บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

Main Article Content

สหัทยา ปัจจุฐาเน
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ 2) ข้อเสนอแนะบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยอผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน   1,148 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie & Morgan โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 4.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูด (ร้อยละ 4.22) คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหาของแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ร้อยละ 4.15) คือ ด้านการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ในส่วนของสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด (ร้อยละ 4.58) คือ ด้านการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ร้อยละ 4.52) คือ ด้านการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ข้อเสนอแนะบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ทั้ง 5 ด้าน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นใหม่ ๆ ส่งเสริมให้บุคลากรได้เข้าร่วมการประชุมการอบรม การสัมมนา และเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ศึกษาดูงานเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ได้เห็นความสำคัญและตระหนักถึงกิจกรรมการศึกษาในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

พยุง ใบแย้ม (2558). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสมเพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

วนิดา นิ่มวงษ์ (2559). การใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนธัญรัตน์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.