การพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติดนตรีสากล (เครื่องเป่าวงโยธวาทิต) โดยประยุกต์ตามแนวคิดของดาลโครซ ออร์ฟ และโคดาย เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติ เครื่องดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์

Main Article Content

ธีรพงศ์ พุทธขาว

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาแบบฝึกทักษะ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) ทดลองใช้แบบฝึกทักษะ 4) ประเมินและปรับปรุงแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ จำนวน 16 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม (IOC = 1.00) แบบสัมภาษณ์ แบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานสถิติ t-test
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. นักเรียนและครูต้องการให้แบบฝึกทักษะมีกิจกรรมที่หลากหลาย ช่วยให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้ มีรูปแบบและเนื้อหาที่น่าสนใจ มีการฝึกจากง่ายไปหายากและเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
          2. แบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้นมีทั้งหมด 5 ชุด ได้แก่ 1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวงโยธวาทิต 2) จังหวะและเสียงดนตรี 3) พื้นฐานการปฏิบัติเครื่องดนตรี 4) สัญลักษณ์ทางดนตรี 5) การปฏิบัติเครื่องดนตรีโดยใช้สัญลักษณ์ทางดนตรี โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.48/82.36 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
          3. ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะ พบว่า นักเรียนให้ความสนใจ กระตือรือร้น ในการทำกิจกรรม นักเรียนได้เรียนรู้องค์ประกอบพื้นฐานของดนตรีอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และสามารถฝึกทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล ตามเนื้อหาของแบบฝึกทักษะได้ด้วยความรู้สึกง่ายและสนุกสนาน
          4. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีสากล หลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับสูง ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2540). กิจกรรมดนตรีสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงรัตน์ วุฒิปัญญารัตนกุล. ผลของการใช้กิจกรรมดนตรีและเคลื่อนไหวตามแนวคิดดาลโครซที่มีต่อ ความสามารถทางสติปัญญาของเด็กอนุบาล. วิทยานิพนธ์ ค.ม. การศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ วิเชียรครุฑ. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยมรัชดาภิเษกในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. วิชาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พงศักดิ์ เอกจักรแก้ว. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรีพื้นบ้าน) เรื่องพิณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแนวซูซูกิ การจัดการเรียนการสอนแนวโซลตาน โคดายและการจัดการเรียนการสอนแนว คาร์ล ออร์ฟ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธาวี นิยมสุข. (2561). การจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรีสากล ตามแนวคดิของดาลโครซ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2562). วิธีสอนทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2555). ทักษะการคิดและความสามารถเฉพาะตน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.