การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและ ธรณีพิบัติภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ธัญญสิทธิศิลป์ จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบทดสอบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการทดลองเป็นแบบ 1 กลุ่ม ที่มีการทดสอบก่อนและหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2558). ภัยพิบัติศึกษา: แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม รับมือภัยพิบัติ (ตอนที่ 1). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16 (4). 188 – 201.
ชาตรี ฝ่ายคำตา และ ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 29 (3). 86-99.
พัณนิดา มีลา และ ร่มเกล้า อาจเดช. (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์: การส่งเสริมการสร้างความหมายในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (3). 1-15.
รวีวรรณ เมืองรามัญ และ ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2556). การส่งเสริมความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกของเราของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจําลองป์นฐาน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 4 (1). 38 – 45.
สันติชัย อนุวรชัย. (2557). การจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 7 (2). 1-14.
สุทธิดา จำรัส. (2555). แบบจำลองและการสร้างแบบจำลองในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: https://chamrat2012.wordpress.com/2012 /04/25/model-and-modeling-teaching/
Fitz - Gibbon and Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park:Sage.
Gilbert, J. K., and Ireton, S. W. (2003). Understanding Models in Earth and Space Science. Arlington: NSTA Press.
Hsiu-Ting Yang and Kuo-Hua Wang. (2014). A Teaching Model for Scaffolding 4th Grade Students' Scientific Explanation Writing. Research in Science Education. 44 (4). 531-548.
McNeill, K. L., Lizotte, D. J., and Krajcik. (2006). Supporting Students' Construction of Scientific Explanations by Fading Scaffolds in Instructional Materials. Journal of the Learning Sciences. 15 (2). 153-191.
Metz, K. E. (2000). Young children's inquiry in biology: Building the knowledge bases to empower independent inquiry. In J. Minstrell and E. van Zee (Eds.) Inquiring into inquiry inscience learning and teaching (371-404). Washington, DC: American Association for the Advancement of Science.
Ruiz-Primo, M. A., Li, M., Tsai, S. P., and Schneider, J. (2010). Testing One Premise of Scientific Inquiry in Science Classrooms: Examining Student, Scientific Explanations and Student Learning. Journal of Research in Science Teaching, 47 (5), 583-608.
Windschitl, M. and Thompson, J. (2006). Transcending simple forms of school scienceinvestigation: the impact of preservice instruction on teachers’ understandingsof model-based inquiry. American Educational Research Journal, 43 (4), 783-835.