การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

วงศ์วุฒิ เตี๊ยบทอง
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในวิชาเคมี 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาเคมี4 2) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ วีดิทัศน์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยจัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้ควบคู่กับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ทดสอบก่อนและหลังเรียนกับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าความแตกต่างด้วย t-test dependent sample
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพเป็น 82.57/82.83 สอดคล้องตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). สรุปผลการวิจัย เรื่อง ค่าใช้จ่ายเอกชนทางการศึกษาของนักเรียนไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.moe.go.th/moe/upload/

news20/FileUpload/34437-7077.pdf

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). อีเลิร์นนิงคอร์สอแวร์ : แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชดก ปัญญาวรานันท์. (2556). แก้ปัญหา “เวลาไม่พอ”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563.

แหล่งที่มา: http://oknation.nationtv.tv/blog/ministryoflearning/2013/09/21/entry-1

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2562). เพื่อนคู่คิดครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ : การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการเขียนแผนจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เบญจพร สุคนธร. (2561). แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต:

บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัทยา มณีรัตน์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง

แมสโปรดักส์.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ใน

ศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.