การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปาโมเดลร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง แบบจำลองอะตอม รายวิชาเคมี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ

Main Article Content

วนิดา ส่องโสม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแบบจำลองอะตอม 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี 1 ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ซิปปาโมเดลร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมแบบจำลองอะตอม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ cippa model  2) ชุดกิจกรรมแบบจำลองอะตอม  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี 1 เรื่องแบบจำลองอะตอม 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ซิปปาโมเดลร่วมกับชุดกิจกรรมแบบจำลองอะตอมและดำเนินทดสอบก่อนเรียนละหลังเรียนกับกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test dependent sample  ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมแบบจำลองอะตอมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.87/82.11   2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ซิปปาโมเดลร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมแบบจำลองอะตอมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญฤทัย ล้อซ้ง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อการ

จัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปาโมเดล(CIPPA MODEL) เรื่องลำดับของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร. ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิรพันธุ์ ทัศนศรี. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วง

ชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบซิปปากับแบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทัศนวรรณ รามณรงค์. (2556). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/561214

ทิศนา แขมมณี. (2540). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ SR printing.

นิตยา โสตทิพย์. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปากับแบบปกติ. วารสาร

ทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 9 (2), 196-206.

ปัญจพร แสนจันทร์. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมีเน้นความรู้คู่คุณธรรมของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประคอง แจ่มใส. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเพิ่มเติม 1 และความสามารในการคิด

แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ

และการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (cippa model). ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรันครินทรวิโรฒ.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2526). การบริหารสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัฒนาพานิช.

สันติวัฒน์ จันทร์ใด. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน CIPPA ที่บูรณาการมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิต. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48 (1), 117-132.

อัศวิน พุ่มมรินทร์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง ลำดับและอนุกรมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อภิญญา เคนบุปผา. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.