การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษา ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย

Main Article Content

จันทนา อุดม
ไพโรจน์ บุตรชีวัน

บทคัดย่อ

          เป็นที่ตระหนักว่า การศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนผ่านภายใต้เป้าหมายขององค์กร และสภาพแวดล้อมทางสังคม การศึกษานี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยอออกเป็น  3  แนวทาง ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาและตรวจสอบความความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขององค์กร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัย เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขององค์กร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาขององค์กร กรณีศึกษาวิจัยนี้กำหนดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 38 แห่งเป็นองค์กรตัวอย่างการศึกษา การออกแบบการวิจัยเป็นลักษณะการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 360 คน ที่เป็นตัวแทนจากบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนที่ปฏิบัติหน้าที่จากทุกองค์กร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00  และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.952 การวิเคราะห์ข้อมูลโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน จากตัวแทนที่เป็นผู้บริหารระดับคณะ ด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ ชี้ให้เห็นว่า 1) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพบว่า รูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า c2 = 91.84, df =73, c2 /df = 1.26, P-value = 0.067, GFI= 0.97, AGFI= 0.96, RMSEA = 0.03 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาขององค์กร ประกอบด้วย คือ สมรรถนะขององค์กร วัฒนธรรมองค์กรและภาวะผู้นำของผู้บริหารตามลำดับ และปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผล คือ วัฒนธรรมองค์กรและภาวะผู้นำของผู้บริหาร -ขณะที่ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้สรุปถึงความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เห็นว่าปัจจัยที่ศึกษาได้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประสิทธิผลองค์กร และสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ทั้งได้ให้แนวทางและข้อเสนอแนะสำคัญในการนำรูปแบบและปัจจัยของการศึกษานี้ ไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การบริหารการเปลี่ยนผ่านขององค์กรในอนาคต 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณนันท์ พฤทธสาโรช และคณะ. (2558) รูปแบบของปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา.วารสารศึกษาศาสต์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17 (1), 103-116

คณะกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2562. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ญานิศา บุญจิตร และคณะ.(2561) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 1 (2), 33-51.

ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และ โชติ บดีรัฐ. (2564). แนวทางการเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. Journal of Modern Learning Development. 6 (1), 185-195.

นภนต์กฤต สรรพอาสา และคณะ. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (1), 314-328.

พัชรินทร์ โต๊ะบุรินทร์. (2548). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพศาล ไกรรัตน์ จิตติ และคณะ. (2561).ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย. 12 (3), 185-199.

รัตนา กาญจนศิริสกุล และ กรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). การจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานของนักศึกษาจบใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (3), 548-562.

เริงรณ ล้อมลาย และ สุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล. (2563). แนวคิดทางปรัชญาการศึกษาในบริบทของการศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3 (3), 357-366.

วรรณพา นามสีฐาน. (2555). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีรพงษ์ อุ่นมานนท์ และคณะ. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา.วารสารชุมชนวิจัย. 10 (3), 166-177.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว20 ปีพ.ศ.2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2560). การพัฒนาและเพิ่มกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ประเทศไทยที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา.

สุธี อินทา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1 (1), 37-58.

อมรรัตน์ เตชะนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. Journal of Modern Learning Development. 5 (6), 364-373.

อัจฉราภรณ์ ใจก้อนแก้ว และคณะ. (2562).การพัฒนาตัวแบบประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 13 (2), 551-565.

อุบล ทัศนโกวิท และคณะ. (2558). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโดยผ่านการรับรู้ของครู. วารสารสมาคมนักวิจัย. 20 (1), 146-157.

Bailey, T.L. (2011). Organizational Culture's Impact on the Effectiveness of Research Administration Units: A Multicase Study of Historically Black Doctoral Degree Granting Institutions. Doctoral dissertation, The Florida State University.

Cameron, K. S., & Quinn, R. E. (1999). Diagnosing and changing organizational culture: based on the competing values. framework: Addison-Wesley Publishing.

Dabjan , N. (2020). Enriching the Hostel Customer Behavioral Study. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism. 4 (1), 69-87

Daft, R.L. (2008). The Leadership Experience. 4th Edition, Thomson Corporation, Stamford.

Edgar H. Schein. (2017). Organizational Culture and Leadership. (5nd ed.). Canada: John Wiley & Sons.

Heris,M.S.(2014). Effects of organizational culture on organizational effectiveness in Islamic Azad universities of northwest of Iran. Indian Journal of Fundamental and Applied Life Sciences. 4 (3), 250-256.

John, K. Hemphill and Alvin E. Coons. (1957). Leader Behavior Description. Columbus: Personnel Research Board, Ohio University.

John M. Ivancevich, Robert Konopaske, Michael T. Matteson. (2011).Organizational Behavior and Management. New York: McGraw-Hill.

Mukhtar,M., Risnita,R., & Prasetyo,M.A.M. (2020).The influence of transformational leadership, interpersonal communication, and organizational conflict on organizational effectiveness. International Journal of Educational Review. 2 (1), 1-17.

Potnur,R.K.G. & Sahoo,C.K. (2016).HRD interventions, employee competencies and organizational effectiveness: an empirical study. European Journal of Training and Development. 40 (5), 345-365.

Pyo, N. H. L. (2020). The Application of Stimulus-Organism-Response (SOR) Theory for Studying Workforce Contributions in the Pineapple Factories in Chiang Rai. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism. 4 (2), 88-102.

Shet, S.V.,Patil,S.V. & Chandawarkar,M.R. (2019).Competency based superior performance and organizational effectiveness. International Journal of Productivity and Performance Management. 68 (4), 753-773.

Snongtaweeporn, T.,et al. (2020). Total Quality Management in Modern Organizations by Using Participation and Teamwork. Journal of Arts Management. 4 (3), 818-829.