ความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ

Main Article Content

สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์ และคณะ Surachet Boonyarug and Others

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ความต้องการของบุคลากรในการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 389 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการประมาณสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และความต้องการของบุคลากรในการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า


                1.ความต้องการของบุคลากรในการมีส่วนร่วม ในการวางแผนสูงที่สุด ได้แก่ การกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพ


  1. ความต้องการของบุคลากรในการมีส่วนร่วม ในการดำเนินการสูงที่สุด ได้แก่ การส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพ

  2. ความต้องการของบุคลากรในการมีส่วนร่วม ในตรวจสอบผลการดำเนินงานสูงที่สุด ได้แก่ การตรวจสอบข้อมูลและผลการประเมินเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

  3. ความต้องการของบุคลากรในการมีส่วนร่วม ในการปรับปรุงพัฒนาสูงที่สุดได้แก่ การนำผลการประเมินมาปรับปรุงเป้าหมาย ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพ

    The purpose of this research was to analyze needs of personnel for participation to promote internal quality assurance system and mechanism for faculty of education of Northern Rajabhat University.The sample of the study was 389 people including administrators, lecturers, and supporting personnel. The Stratified random sampling was used for choosing the sample. The simple size of the sample was determined by using the estimation formula. Research tools used in this research were the current condition and needs questionnaires of personnel participation to promote internal quality assurance system and mechanism for faculty of education of Northern RajabhatUniversity.The research instrument is 5 level Scale. The data analysis was to analyzeMeans, Standard deviation and Needs.


                    The findings of the study were as follows:


    1. The needs of personnel for participation in planning were the highest which include determining methods or guidelines on implementing quality assurance.

    2. The needs of personnel for participation in implementing were the highest which include promoting personnel to participate in quality assurance.

    3. The needs of personnel for participation in investigating implementation were the highest which include investigating data and evaluation result for use in decision making activities.

    4. The needs of personnel for participation in development were the highest which include implementing evaluation results to improve goals, metrics, and quality assurance work.


Article Details

Section
Dissertations

References

งานประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต: สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

จินตนา สระทองขาว. (2554). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ทิพย์สุดา ศิลปะ. (2550). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ในการประกันคุณภาพการศึกษาของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 19(2), 9-20.

นุชนารถ ชื่นจุ้ย. (2553). สภาพและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

เนตรรุ้ง อยู่เจริญ. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ของครูสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ประภาศ ปานเจี้ยง. (2555). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปฏิมา พุฒตาลดง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในจังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

เปี่ยมสุข ทุ่งกาวี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 116, ตอนที่ 74ก.

พนิดา วัชระรังษี. (2556). การรับรู้และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

พรเลิศ ยี่โถขาว. (2547). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนทหารขนส่งกรมการขนส่งทหารบก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

พัชมณ ใจสะอาด, และภัทรพร กิจชัยนุกูล. (2555). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

พีรญา เชตุพงษ์, เจิมสิริ ศิริวงศ์พากร, สมนึก แก้ววิไล, สิริรัตน์ วงษ์สำราญ, และศุภศิษฏ์ เร่งมีศรีสุข. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ภิญโญ จูสี, และชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์. (2558). เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

มัฮดี แวดราแม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายใน ที่บูรณาการกับงานปกติ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มุกดา จิตพรมมา. (2552). สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (สาขบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เรือนยศ เหมือนทรัพย์. (2558). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเครือข่ายที่ 1 อำเภอชุมแสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5(8), 69-70.

วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์. (2554). อิทธิพลของการรับรู้ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ การดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามระบบคุณภาพภายใน.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ศิริรัตน์ ทับเจริญ. (2554). การนำเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 1(1), 55-56.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ 1991.

สุขุมาล หวังวณิชพันธุ์ และคณะ. (2556). สภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุภัทรา เอื้อวงศ์ และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์. (2555). การศึกษาสภาพและการดำเนินงานการประกันคุณภาพ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แสงสุรีย์ คำตุ้ย และคณะ. (2556). การศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อในการมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผล. เชียงใหม่: สำนักงานทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). มาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณา เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2 (พ.ศ. 2549-2553). กรุงเทพฯ: ไทภูมิพับลิชชิ่ง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

หนึ่งหทัย ตันติสันติสม. (2558). กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมของบุคลากร เพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้: การวิจัยเชิงผสมผสานวิธี. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อรวรรณ แสงสุวรรณ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับระบบประกันคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participation’s place in rural development seeking clarity Through specificity. New York: World Development.

David, K., Newstrom, J.W. (1985). Humman Behavior at Work: Organizational Behavior. (7th ed.). New York: McGraw-Hill.

United Nation. (1981). Popular Participation as a strategy for promoting community level action and national development. New York: United Nations.