การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักวิชาการคลังสำนักงานคลังจังหวัด; A Developmentofthe Indicators for Fiscal Analysis Competencies in Provincial Comptroller General’s Office
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักวิชาการคลังสำนักงานคลังจังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ สังเคราะห์ตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักวิชาการคลังสำนักงานคลังจังหวัด สร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักวิชาการคลังสำนักงานคลังจังหวัด และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักวิชาการคลัง สำนักงานคลังจังหวัด ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยสังเคราะห์ และพัฒนาตัวบ่งชี้ด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ประชากรที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักวิชาการคลัง สำนักงานคลังจังหวัด ได้แก่ นักวิชาการคลังที่ปฏิบัติงานในสำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 494 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะของนักวิชาการคลัง สำนักงานคลังจังหวัด โดยใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA)
ผลการศึกษาพบว่า
1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะของนักวิชาการคลัง สำนักงานคลังจังหวัด ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ และ 42 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การควบคุมการปฏิบัติงานตามระเบียบกฎหมาย 2 ตัวบ่งชี้ 2) ความสามารถด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ 3 ตัวบ่งชี้ 3) คุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพ 5 ตัวบ่งชี้ 4) การทำงานเป็นทีม 6 ตัวบ่งชี้ 5) การบริการให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือ 5 ตัวบ่งชี้ 6) การวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดทำรายงาน 4 ตัวบ่งชี้ 7) การวางแผน ติดตาม และประเมินผล 5 ตัวบ่งชี้ 8) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ 4 ตัวบ่งชี้ 9) ภาวะผู้นำ 5 ตัวบ่งชี้ และ 10) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน 4 ตัวบ่งชี้
2) ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้มีความตรงเชิงโครงสร้าง จากผลการตรวจสอบโมเดล พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ χ2= 526.17df = 492p= 0.13873 GFI = 0.95 AGFI = 0.91 RMR = 0.023 RMESEA = 0.012
The objective of this inquiry are to1) establish the indicators for fiscal analysis competencies in provincial comptroller general’s office; 2) develop the indicators for fiscal analysis competencies in provincial comptroller general’s office; and3) validate the indicators for fiscal analysis competencies in provincial comptroller general’s office.Research establish the indicators with Delphi technique principles by collect data from 17 experts. Research instrument is scaled questionnaire data were analyzed using descriptive statistics: median and Inter - quartile range.The population used to check the quality of the indicators for fiscal analysis competencies in provincial comptroller general’s officefrom 494 academic scholars working in the provincial treasury offices nationwide. Research instrument is evaluation form Indicators for fiscal analysis competencies in Provincial Comptroller General’s Office and data were analyzed using Confirmatory Factor Analysis (CFA) with LISREL
The research findings were as follows:
1.The ten factors of the indicators for fiscal analysis competencies consisted of 42 indicators as follows:1)the control of the performance of legal regulations of 2 indicators, 2) the technology and Information Science Capabilities of 3 indicators, 3) the moral of the occupation composed of 5 indicators, 4) the teamwork of 5 indicators, 5) the consultation and Answering Service of 5 indicators, 6) the analysis, examination and report preparation of 4 indicators, 7) the planning, tracking and evaluation of 5 indicators, 8) the accumulate experienceof4 indicators, 9) the leadership of 5 indicators, 10) the achievement Motivation Information Science of 4 indicators.
2.The validation of indicator results employing confirmatory factor analysis that the model of the indicators for fiscal analysis competencies in provincial comptroller general’s office was found that the model was fit to the empirical χ2= 526.17df = 492p= 0.13873 GFI = 0.95 AGFI = 0.91 RMR = 0.023 RMESEA = 0.012
Article Details
References
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2550). Competency Model กับการประยุกต์ใช้ในองค์กรไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.
บัญชีกลาง. กรม. (2559). รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานคลังจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.
บัญชีกลาง. กรม. (2557). แผนปฏิบัติราชการของกรมบัญชีกลางประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2560. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.
บัญชีกลาง. กรม. (2558). เกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานภายในกรมบัญชีกลาง ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.
ปาริชาติ ผาสุข, สุรีย์พร สว่างเมฆ, และวันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2560, มกราคม – เมษายน). วิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้ตามกรอบการเสริมต่อการเรียนรู้แบบ DEEPER เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัย สังคมศาสตร์, 12(34), 127-140.
ผสุ เดชะรินทร์. (2560, เมษายน). ผู้นำในยุค 4.0. กรุงเทพธุรกิจ.
ภิราช รัตนันท์. (2560, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนาโมเดลการรักษาทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลักในประเทศไทย: การวิจัยผสมผสาน. วารสารวิชาการ และวิจัยสังคมศาสตร์, 12(36), 27-42.
สุภมาส อังศุภโชติ และคณะ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฟติกรรมศาสตร์: การใช้โปรแกรม LISREAL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญมั่นคงการพิมพ์.
อพันตรี พูลพุทธา. (2560, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย สังคมศาสตร์, 12(36), 69-82.
Beth Reissenweber. (2012). Financial Indicators in Strategic Decision Making: Recommended Practices for Financial Officers at Small Privete Colleges and Uniiersities in the Midwestern United States. Psychology (Ph.D). University of Nebraska.