ผลการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมทที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Effects of Learning Management by Using 4 MAT on Achievement and Attitude Towards Mathematics of Matthayomsuksa 1 Students
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมทที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท 4) ศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนบ้านห้วยบง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ โฟร์แมทจำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องจำนวนจริง มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.43–0.80 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22-0.75 และมีค่าความเที่ยง 0.73 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมท เป็นดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับดี
The purposes of this research were, 1) to study the number of students in Mathayom 1 who passed the achievement criterion of 60% after learning management by using 4 MAT, 2) to compare the achievement of Matthayom 1 students before and after being taught mathematics using the 4 MAT, 3) to compare the attitude toward mathematics subject of Mathayom 1 students before and after being taught mathematics using the 4 MAT and, 4) to study the attitude toward mathematics subject of Mathayom 1 students receiveing learning through 4 MAT. The samples were 9 Mathayom 1 students studying at Banhuaibong School in Nakhon Sawan. The samples were selected using multistage sampling. The research instruments were, 1) 5 lesson plans using 4 MAT approved by 3 specialists, 2) a mathematics achievement test with the degree of difficulty between 0.43-0.80, the discrimination power from 0.22-0.75, and reliability alpha of 0.75, and 3) a test of attitude toward mathematics subject with the reliability alpha of 0.77.
The results of this research were as follows:1) 100% of students who were taught mathematics using 4 MAT achieved 60% passing the criterion score of the posttest at the .05 level of significance, 2) Students being taught mathematics using the 4 MAT achieved a higher score in the posttest at the .05 level of significance, 3) The students’ attitude toward mathematics after being taught using the 4 MAT was higher than that before being taught at the .05 level of significance, 4) The students’ attitude toward the mathematics subject taught by using the 4 MAT were positively high.
Article Details
References
จรัสศรี ทองมี. (2552). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยสารคาม, มหาสารคาม.
เจตตมน สมคิดสกุล. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT). การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยสารคาม, มหาสารคาม.
ตรูเนตร อัชชสวัสดิ์ 2542, และสิริวรรณ ตะรุสานนท์, (2542). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนสังคมศึกษาโดยการจัดกิจกรรมการสอนแบบ 4 MAT กับการจัดกิจกรรมการสอนแบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์. ปริญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร : กรุงเทพฯ.
เธียร พานิช. (2544). 4 MAT: การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี–สฤษถิ์วงศ์.
ประพันธ์ จ่ายเจริญ. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องผลการใช้แฟ้มสะสมงานสำหรับการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฝ่ายประถม): กรุงเทพฯ.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
ยุพิน พิพิธกุล. (2546). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วีระวัฒน์ เพ็งคำศรี. (2549). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมแบบ 4 MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, อุดรธานี.
ศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2548). นวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับการวิจัยชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้ง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
อริศรา ภูทองคำ. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.
Appell, C.J. (1991). The effect of the 4 MAT system of instruction on academic achievement and attitude in elementary music classroom (Four Mat). Dissertation Adstracts International. 52(1991), 3811–A.
Dwyer, K.K. (1993). Using the 4 MAT system learning styles model to teach persuasive speaking in the basic speech course. Eric Accession: NISC Discover Report.
McCarthy, B. (1990). 4 MAT in Action ll, 200 U.S.A.: Excel.