ผลการสอนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือด้วยวิธีแข่งขันเป็นทีมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2; The Effects of Teaching by Cooperative Learning With Team Game Tournament on Achievement and Attitud

Main Article Content

ขวัญตา กวีสิทธิสารคุณ และคณะ Kwanta Kawesitthisarakun and Others

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1)ศึกษาจำนวนนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือด้วยวิธีแข่งขันเป็นทีมที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2  3)เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2  4) ศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 20 คน วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยวิธีแข่งขันเป็นทีม ซึ่งผ่านการตรวจคุณภาพแล้วว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.3-0.77  ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.2-0.85 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9  3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 


                   ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือด้วยวิธีแข่งขันเป็นทีม เป็นดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ระดับดี


 


                The purposes of this research were: 1) to study the number of the second year technical  students taught by cooperative learning with team game tournament who got the average score higher than 60 percentage of criterion, 2) to compare Mathematics learning achievement between before and after learning of the second year technical students, 3) to compare the attitude towards Mathematics between before and after learning of the second year technical students, and 4) to study the attitude towards Mathematics of the second year technical students. The samples of the study from multi-stage sampling were 20 students studying in the second year in Electronics major at Nakhon Sawan Technical College. The research instruments consisted of 1) cooperative learning with team game tournament lesson plan proved by specialists, 2) Mathematics achievement test. The difficulty index is between 0.3-0.77 and the discrimination power is between 0.2 - 0.85. Moreover, the validity is 0.9, 3) attitude test towards Mathematics whose validity is 0.81. 


                    The results of this research were as follows:1) Learning achievement of 20 second year technical students passed 70 percentage of criteria (100%) significantly at the .05 level, 2) Learning achievement after learning of the second year technical students was higher than before learning significantly at the .05 level, 3) Attitude towards Mathematics after learning of the second year technical students was higher than after learning, and 4) Attitude towards Mathematics of the second year technical students was at the good level.

Article Details

Section
Dissertations

References

เกรียงไกร เหล่าหู้พงษ์พันธ์ และสมบูรณ์ นิยม. (2561, กันยายน-ธันวาคม). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(36), 113-126.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา เจริญนิเวศกุล. (2544). แนวคิด และเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: เดอมาสเตอร์กรุ๊ป.

ปราโมทย์ โรจน์รักษ์. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกันซึ่งได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือประเภทจัดทีมแข่งขัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, นครสวรรค์.

ยุพิน พิพิธกุล. (2546). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บพิธการพิมพ์.

______. (2554, พฤษภาคม-กรกฎาคม). แผนการจัดการเรียนรู้. วารสารคณิตศาสตร์, 56 (632-634), 3-23.

วราภรณ์ คันทะพรม. (2550). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วัชรี กาญจน์กีรติ. (2554). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์. (2557). รายงานผลการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์. นครสวรรค์: ผู้แต่ง.

วีระชัย เจริญวัฒนะตระกูล. (2550). ผลการใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต(หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, อุดรธานี.

สุวิทย์ มูลคำ, และอรทัย มูลคำ. (2553). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

______. (2553). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Arends, R. (1994). Learning to teach. New York: McGraw Hill.

Johnson, D. W., Johnson, R. T., & Holubec, E. J. (1994). The nuts and bolts of cooperative learning. Minnesota: Interaction Book.

Slavin, R.E. (1990). Cooperative learning. United States of America.

______. (1995). Cooperative learning theory research and practice. Massachusetts: Simon & Schuster.

Stahl, R.J. (1994). Cooperative learning in social studies. Arizona: Addison Wesley.

William, J.D. (1967). Mathematics reform in the primary school international student in education. Hamberg: UNESCO Institute for Education.