การพัฒนาคะแนนจุดตัดวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุตรดิตถ์; A Development of Cutscores on Ordinary Nation Educational Mathemathics Test for Mathayomsuksa 6 Students in Uttaradit Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลการปรับเทียบคะแนนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างผลการทดสอบระดับชาติกับระดับสถานศึกษา 2 . เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานคะแนนจุดตัดวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานระดับชาติโดยวิธีแองกอฟแบบ ใช่/ไม่ใช่และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเป้าหมายของ สพฐ. 3. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อการประเมินคุณภาพการศึกษาจากการใช้คะแนนจุดตัดวิชาคณิตศาสตร์ระดับชาติที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1,037 คน ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น จำนวน 13 คน
สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติเชิงบรรยาย เปอร์เซ็นไทล์ และวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ฯระดับชาติมีคะแนนเฉลี่ย คือ 25.70%และระดับสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ย() คือ 67.14% ผลการปรับเทียบโดยใช้วิธีเปอร์เซ็นไทล์ที่เท่ากันพบว่า P94
มีคะแนนระดับชาติคือ 50 คะแนนเมื่อเทียบเป็นคะแนนระดับสถานศึกษาคือ 83 คะแนน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยระดับสถานศึกษาสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติแปลความหมายได้ว่าแบบทดสอบระดับชาติ มีค่าความยากมากกว่าระดับสถานศึกษามาก 2) ผลการวิเคราะห์คะแนนจุดตัดวิชาคณิตศาสตร์ฯระดับชาติโดยผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นมีคะแนนจุดตัดเฉลี่ย(= 27.76%) ต่ำกว่าเกณฑ์ของ สพฐ. (50%) 3) ผลกระทบต่อการประเมินคุณภาพการศึกษาจากเกณฑ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเมื่อใช้คะแนนจากการเทียบสัดส่วน70:30 พบว่า มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ของสพฐ. (50%) มีจำนวนมากที่สุดแต่ถ้าพิจารณาเฉพาะคะแนนจากการทดสอบระดับชาติจะมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว 6.18 % ซึ่งน้อยมากแสดงว่าในภาพรวมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์อ่อนมากตามที่เกณฑ์ สพฐ. กำหนด ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษาต้องพิจารณาหลายๆ ด้าน และสอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
The purposes of this research were 1) to compare and equate the math scores of school ‘s and the O-NET 2) to develop a cutscore for the O-NET math score by local experts through the modified Angoff method and compare with the criteria of 50 % set by the office of basic education (OBEC).
3) to analyze the impact on the quality basic education through the cutscores of basic mathematics found in this study.The sample was 1,037 mathayomsuksa 6 students in Uttaradit who graduated in 2015 and 13 local experts
The results of the study were as follows: 1) the same percentile rank position at 94 the
O-NET scores is 50 but school scores is 83.The mean score of the school score was higher than the
O-NET.2)The cutscores of the O-NET set by local experts with Yes/No Angoff method was 27.76%, lower than the criterion set by the OBEC . 3) The impact on the quality of education according to the criteria developed by the researcher when using the score of 70:30 compared with the number of students who met the criteria of the OBEC. (50%) is the highest, but only the scores from the national test will be 6.18% of the students passing the test, which is very low in the overall picture of Matthayom 6 students in Uttaradit province. Did not study very weak mathematics as criteria. Therefore, the quality assessment criteria must be considered in many aspects and in accordance with the actual conditions
Article Details
References
______. (2559). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2536). เกณฑ์ปกติและเทคนิคการเทียบคะแนน. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
______. (2556). หลักและทฤษฎีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
โรงเรียนอุตรดิตถ์. (2557). รายงานผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2555-2556 โรงเรียนอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: ผู้แต่ง.
ศิริพันธ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. (2554). การพัฒนาวิธีการกำหนดคะแนนจุดตัดสำหรับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). การทดสอบระดับชาติ (O-NET). สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2558, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/211
สมพงษ์ จิตระดับ.(2558, 29 มีนาคม). สาเหตุ เกี่ยวกับผลการสอบ O-NET ต่ำลง. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.thairath.co.th/content/413042
สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.). (2559). ค่าร้อยละในระบบ Admissions กลาง และองค์ประกอบคะแนนและค่าน้ำหนักแอดมิชชัน ประจำปีการศึกษา 2559. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.admissionpremium.com/news/209
สุรชัย ไวยวรรณจิตร. (2552). การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนน O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อ: กรณีศึกษาโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สุรวาท ทองบุ. (2558, 29 มีนาคม). ปัญหาการทดสอบระดับชาติ. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.ops.moe.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id)
สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2558, 15 พฤษภาคม). การสอบโอเน็ต. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.sesa10.go.th/sesa10/ Index.php/component/content/article/17--10/481-o-net, สยามรัฐ
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). การปรับเทียบคะแนน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). คู่มือนักเรียน ม.6 ในการสอบ O-NET. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อัมมาร สยามวาลา. (2555, 16 กุมภาพันธ์). เรียนหนักคะแนนต่ำ ทีดีอาร์ไอระบุเด็กไทยสอบโอเน็ตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
50%. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.qlf.or.th/Home/Contents/247
เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย, และภีรภา จันทรอินทร. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทําให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องคการมหาชน).
Angoff W.H. (1984). Scales, Norms, and Equivalent Scores. New Jersy: Education Testing Service. Berk Ronald A. (1984). A guide to criterion-referenced test construction. State of the art. Baltimore: The John Hopkin University Press.
Chinn, R. N. & Hertz, N. R. (2002). Alternative approaches to standard setting for licensing and certification examinations. Applied Measurement in Education, 15, 1-14.
Glass, Gene.V. (1978). Standards and Criteria. Journal of Educational Measurement, 15(4), 237-261.
Impara, J. C. & Plake, B. S. (1997). Standard setting: An alternative approach. Journal of Educational
Measurement, 34, 353-366.