ศักยภาพทางวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอ : พลวัตการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ; The Cultural Potential of Skaw Karen : Dynamic Management of Community Based Cultural Tourism in Mae Hong Son Province.
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำนวน 6 หมู่บ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาและลักษณะชุมชนของชาวปกาเกอะญอ 2) ศึกษาศักยภาพทางวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ3) ศึกษาพลวัตการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนปกาเกอะญอ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปกาเกอะญอ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในเขตพื้นที่ฝั่งตะวันออกของสหภาพเมียนมาร์ และภาคเหนือของประเทศไทยก่อนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ โดยมีอุปนิสัยของความรักสันโดษ ใช้ชีวิตเรียบง่าย พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และการผจญภัย แต่ไม่ชอบการต่อสู้ 2) ศักยภาพทางวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีลักษณะที่โดดเด่น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การดำรงชีวิตบนพื้นฐานของปัจจัยสี่ 2) การสร้างความมั่นคงของกลุ่มสังคม และ 3) การปรับตัวเข้ากับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม หรือนิเวศวัฒนธรรม 3) พลวัตการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชนปกาเกอะญอ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับชัดเจน 2) ระดับเดินกระบวน และ 3) ระดับก่อตัว โดยที่ความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยชุมชน เกิดขึ้นจากการที่ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ บริษัทนำเที่ยว และนักท่องเที่ยวมีความเข้าใจในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม มีกระบวนการจัดการความรู้และภูมิปัญญาร่วมกันโดยมุ่งเน้นที่การคงอยู่และการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนมากกว่าผลประโยชน์ด้านการเงิน
This study was a qualitative study aiming 1) to study background and characteristics of the Skaw Karen community, 2) to investigate cultural potential of the Skaw Karen in Mae Hong Son province, and 3) to examine dynamics of cultural tourism management by the Skaw Karen community in Mae Hong Son province.. Data was collected from both documents and field studies by observations and group discussions with the experts, the practices, and the general informants in 6 villages in Mae Hong Son province.
The results showed that Skaw Karen was one the first tribes emigrating into the east of Myanmar and the north of Thailand. Their personality was secluded, simple, interested in innovation, adventurous, yet peaceful
According to the study of the Skaw Karen’s cultural potential in Mae Hong Son province, it revealed that 1) the Skaw Karen preserved their cultural potential by maintaining four basic needs 2) their cultural potential could establish the community’s stability and 3) cultural ecology.
The dynamics of cultural tourism management by the Skaw Karen in Mae Hong Son province could be divided into 3 types: 1) the cultural tourism management in a clear understanding, 2) developing level and 3) beginning level. Factors that influence success of the cultural tourism by the community include the community itself, mentoring organizations both in the government and private sections, the tour agencies, and tourists, and they share a mutual concept which was learning and accepting the diversity in cultures for the sake of living contented spy together.
Article Details
References
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2518). ชาวเขา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยาอินเตอร์เนชั่นแนล.
นิติพร ลาดปาละ. (2550). อาชีพทอผ้า กรณีศึกษากลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงสะกอของหมู่บ้านพะมอลออำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ปณต ประคองทรัพย์ และคณะ. (2553). รูปแบบและกลไกการตลาดของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะที่ 1. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2540). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินธ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cascante, D. Matarrita., M.A. Brennan, and A.E. Luloff. (2010). Community Agency and Sustainable Tourism Development: The Case of La Fortuna, Costa Rica. Journal of Sustainable Tourism, 18(6), 735-756.
Cork, Carolyn. (1996). Community-Managed Ecotourism: A Feasibility Survey in Phnom Baset, Cambodia. Master’s Thesis Canada: University of Calgary Canada.
Xie, Philip Feifan. (2004). Authenticating Cultural Tourism: Folk Villages in Flainan, China, Dissertation Abstracts International.