รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้ ของศูนย์การศึกษากองทัพภาคที่ 2; Learning Park Management Model of The 2nd Army Area’s Educational Center

Main Article Content

มารุต ลิ้มเจริญ Marut Limcharoen

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษากองทัพภาคที่ 2  การดำเนินการวิจัยดำเนินการโดย  1) การศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษากองทัพภาคที่ 2 โดยการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวม 9 คน ยืนยัน เพิ่มเติมองค์ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  2) การศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้ ของศูนย์การศึกษากองทัพภาคที่ 2 โดยหาค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาจากสภาพที่เป็นอยู่ไปยังสภาพที่ควรจะเป็น นำค่า PNI ที่มากกว่า 0.2 ไปเป็นประเด็นพัฒนารูปแบบ  3) ร่างรูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษากองทัพภาคที่ 2  โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 10 คน ใช้การลงฉันทามติในการยืนยันรูปแบบ  4) การประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ในการนำรูปแบบไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบที (t-test) เทียบกับเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 3.5


                 ผลการวิจัยได้รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษากองทัพภาคที่ 2 คือ CoASTAL Model  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินงานเป็นหัวใจของรูปแบบประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 3.1) การบริหารงาน 3.2) ความร่วมมือและเครือข่าย  3.3) การบริการ  3.4) สาระและกิจกรรม  3.5) ภูมิสถาปัตย์  3.6) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร  4) การประเมินรูปแบบ  5) เงื่อนไขความสำเร็จของการนำไปใช้ ที่มีความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 3.5 พบว่า มีค่ามากกว่าเกณฑ์ 3.5 มีความเหมาะสมในการนำไปใช้    


Abstract


              The main purpose of the study was to develop learning park management model of the 2nd Army area’s education center. The research method was divided into four steps; (1) a study of components in the 2nd Army area’s education center; a document analysis and a semi-structured interview were used as a research data. A participants for the interview consisted of 9 administrators and officers who work for in the 2nd Army area’s education center, and the gained data was then verified by five savants of learning management, (2) a study of need assessment; priority needs index of the 2nd Army area’s education center was employed, and the data gained was utilized for the model development, (3) a construction of the model; a seminar among ten experts were arranged to make a consensus for the model verification, and (4) an evaluation of the model; accuracy, appropriation, and feasibility of the model’s implementation were assessed by mean, standard deviation, and t-test for independent sample comparing  to the setting criterion of means at 3.5.


        This learning park management model also revealed CoASTAL Model for the 2nd Army area’s education center which consisted of five components: 1) concept and principles, 2) objectives, 3) procedures, which the main purpose of the model consisted of six components 3.1) Administration, 3.2) Cooperation, 3.3) Service, 3.4) Activity, 3.5) Location. and 3.6) Technology, 4) evaluations, and 5) conditions of the model success and implementations. The CoASTAL Model was accurate, appropriate, and feasible that was used at a high level.  Comparing to the setting criterion of means at 3.5, there was a statistical higher. Therefore, the CoASTAL Model was feasible to be practiced.

Article Details

Section
Dissertations
Author Biography

มารุต ลิ้มเจริญ Marut Limcharoen, Nakhon Ratchasima Rajabhat University

340 Nakhon Ratchasima Rajabhat University, Suranarai Road, Mueang, Nakhon Ratchasima 30000