ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาของนิสิตปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; Discriminating Factors to Decision Making for Study of Master degree students Faculty of Education, Mahasarakham University

Main Article Content

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน Songsak Phuseeorn

Abstract

บทคัดย่อ

                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรจำแนกการตัดสินใจการเลือกสาขาวิชาของนิสิตปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาโท          สาขาหลักสูตรและการสอน, การวิจัยการศึกษา, การวัดผลการศึกษา, การบริหารการศึกษา และเทคโนโลยีการศึกษา จากศูนย์บริการการศึกษาจังหวัดอุดรธานี, ศรีสะเกษ, สกลนคร, กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม จำนวน 276 คน เครื่องมือ       ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสาขาวิชา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตามวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อ        กับคะแนนรวม ตั้งแต่ .268 ถึง .786 (มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกข้อ) มีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (α-Coefficient) เท่ากับ .909 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) แบบ Stepwise Method

                ผลการวิจัยพบว่า

                      1. ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มที่ตัดสินใจเรียน และไม่เรียนในสาขาหลักสูตรและการสอนมีจำนวน       3 ตัวแปร ได้แก่ อายุ (Age), ความท้าทายและเป็นที่ยอมรับของสาขา (X7) และค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายอื่น (X21)

                2. ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มที่ตัดสินใจเรียน และไม่เรียนในสาขาการวิจัยการศึกษาและสาขาการวัดผลการศึกษามีจำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ อายุ (Age), โอกาสในการจบตามเวลาที่กำหนดในหลักสูตร (X13), ความท้าทายและเป็นที่ยอมรับของสาขา (X7), รายได้ต่อเดือนของครอบครัว (Income), จำนวนมหาบัณฑิตที่สำเร็จในแต่ละปี (X23)

                3. ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มที่ตัดสินใจเรียน และไม่เรียนในสาขาการบริหารการศึกษา มีจำนวน              3 ตัวแปร ได้แก่ โอกาสในการจบตามเวลาที่กำหนดในหลักสูตร (X13), โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งงาน (X12) และค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายอื่น (X21)

                4. ปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มที่ตัดสินใจเรียนและไม่เรียนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษามีจำนวน                3 ตัวแปร ได้แก่ โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งงาน (X12), ประโยชน์ที่จะนำองค์ความรู้จากสาขาไปใช้ (X25) และรายได้ต่อเดือนของครอบครัว (Income)

Abstract

                The aim of this study is analyze the discriminating factors to decision making for study of Master degree students, Faculty of Education, Mahasarakham University. The Samples are 276 Master degree students from the major of Curriculum and Instruction, Educational Research, Educational Measurement, Educational Administration and Educational Technology from Udonthani, Srisaket, Sakonakorn, Kalasin and Mahasarakham Campus. The research instrument is 5 level rating Scale, The quality about item discrimination (Item Total Correlation) are from .268 - .786 (statistical significance at .05 level every items) and Reliability (α-Coefficient) equal to .909. Data analysis by Frequencies, Percentage, Mean, Standard Deviation and Discriminant analysis (Stepwise Method)

                The results were as follow:

                1. The factors that discriminate to decision making to study in Curriculum and Instruction major are Age, Major Acceptance and Challenge (X7) and Cost (X21).

                2. The factors that discriminate to decision making to study in Educational Research and Educational Measurement major are Age, Opportunity for Graduate on time (X13), Major Acceptance and Challenge (X7), Family income(Income) and Amount of Graduation per year (X23).

                3.The factors that discriminate to decision making to study in Educational Administration major are Opportunity for Graduate on time (X13), Opportunity for get a promotion (X12) and Cost (X21).

                4.The factors that discriminate to decision making to study in Educational Technology major are Opportunity for get a promotion (X12), Advantage for Knowledge Application (X25) and Family Income (Income).

Article Details

Section
Research Articles