พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดภูเก็ต; The Behaviors of Online Social Network Use of Junior High School Students in Phuket

Main Article Content

ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ Doungrat Koikitcharoen

Abstract

          การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดภูเก็ตที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์  2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.983 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ  Pearson Chi Square   ลักษณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดภูเก็ตที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 อาศัยอยู่กับบิดา มารดา ได้รับรายได้จากผู้ปกครองเฉลี่ยเดือนละ 2,001 – 3,000 บาท และใช้โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


                พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดภูเก็ต พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าวันละ 3 ชั่วโมง และใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มาแล้ว 3 – 5 ปี  ส่วนใหญ่มีเพื่อนแนะนำให้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และนิยมใช้ Facebook เหตุผลของการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อคุยกับเพื่อนปัจจุบันและเพื่อนเก่า นักเรียนส่วนใหญ่มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ทุกวัน ใช้มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าเป็นวันจันทร์ – วันศุกร์ จะใช้ช่วงเวลา 18.01 – 22.00 น. ถ้าเป็นวันเสาร์ – วันอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะใช้ในช่วงเวลา 10.01 – 14.00 น. และจะใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ช่วงเวลาที่นิยมใช้ คือ ก่อนเข้านอน และใช้สถานที่ที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นที่บ้าน มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่เป็นจริงบางส่วนในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เผยแพร่ให้บุคคลอื่นได้เห็นข้อมูลของตน  มีการปรับแต่งข้อมูล (Upload) ทุกวัน นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เคยนัดเจอเพื่อนที่คุยกันผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยดูแลและให้ความรู้ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สม่ำเสมอ ส่วนเพื่อนมีส่วนร่วมในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีแนะนำให้ไปปฏิบัติเอง และช่วยเหลือหากมีปัญหา    


Abstract


           This research aimed to study, firstly characteristics of junior high school students in Phuket Province about online social network use. Secondly, this research focused on the behaviors of junior high school in Phuket Province about online social network use.  


            In addition, the data collection of the study was collected by questionnaire method. The Reliability estimated by  Cronbach's alpha, is .983. The descriptive statistics and Pearson Chi Square were used for data analysis.  


             The results of the characteristics of junior high school students in Phuket Province about online social network use showed that the students who mostly used social network were female in junior high school level 2. Most of them were living with their parents. Their parents gave monthly money to them around 2,001 to 3,000 Baht. They mostly used mobile phone for surfing internet.


               Moreover, the behaviors of online social network use of junior high school students in Phuket found that most of students surfed internet more than 3 hours per day. They mostly had experiences on the using internet for three to five years. They actually started using social network because of their friends’ suggestion. They widely used Facebook for chatting with their friends. Most of them normally used internet every day. On Monday to Friday, they usually used social network from 6 pm to 10 pm. On Saturday and Sunday, they mostly used social network from 10 am to 2 pm by using mobile phone. They mostly used internet before sleeping. And the most popular place for using social network was at their home. Some students provided publicly the actual information about themselves on the social network and they liked to update all new information every day. Most of their friends whom they chatted on the social network have never seen each other. Their parents always involved with the students while they were using social network. Furthermore, the students were advised and helped on using social network by their friends.

Article Details

Section
Research Articles