การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง; A Development of Instructional Model to Enhance the System Thinking Ability for High Vocational Certificate Curriculum Students

Main Article Content

สราวุธ พัชรชมพู และคณะ Sarawut Patcharachompu and Other

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถใน การคิดเชิงระบบ  และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ จำนวน 40 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่อิสระต่อกัน

                ผลการวิจัยพบว่า

                1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดและทฤษฎี  2) วัตถุประสงค์  3) เนื้อหาสาระ
4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน  และ 5) การวัดและประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ  (1) เสนอประเด็นปัญหา  (2) ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม  (3) วิเคราะห์ระบบความคิด
(4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้  (5) สร้างระบบความคิด  (6) ลงมือปฏิบัติ  และ (7) ประเมินผลกระบวนการคิด

                2. นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน มีความสามารถในการคิดเชิงระบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                The purpose of this study was to develop the Instructional Model to Enhance the System Thinking Ability for High Vocational Certificate Curriculum Students. The study was performed according to the experimental research procedures which were divided into 2 phases. The first phase was to design and evaluate the Instructional Model to Enhance the System Thinking Ability, and the second phrase was to study the effectiveness of the Instructional Model to Enhance the System Thinking Ability. The sample of this study consisted of 40 students in the programme specification of Electrical Power for high vocational Certificate curriculum student, Nakhon Sawan Technical College selected by purposive sampling method. This study was conducted using an experimental design via a one group pretest-posttest design. Data were analyzed by using precentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.

                Results showed as follows: 1. The Instructional Model to Enhance the System Thinking Ability for High Vocational Certificate Curriculum Students included five factors as 1) principles and theories, 2) purposes, 3) contents, 4) instructional process, and 5) evaluation. The instructional process included seven steps 1) defining the problem,
2) studying the data, 3) system thinking analysis, 4) knowledge exchange, 5) enhancing system thinking, 6) taking action, and 7) evaluation process.  2. Regarding the effectiveness of the Instructional Model to Enhance the System Thinking Ability, student’s system thinking ability and the achievement after learning were statistically higher than those before learning (p < .05).

Article Details

Section
Dissertations