การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6; The Development of a Mathematics Teaching Model for Enhancing Critical Thinking of Prothomsuksa 6 Students

Main Article Content

สุวิทย์ แบ่งทิศ และคณะ Suwit Bangtid and Other

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา
2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการสอน และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ โดยจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน  ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ และประเมินผลรูปแบบการสอน แหล่งข้อมูลได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านสวนเขื่อน (ราษฎร์บูรณวิทยา) จำนวน 32 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t – test dependent)

                ผลการวิจัยพบว่า

                1. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้พัฒนามีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การแนะนำรูปแบบการสอน ประกอบด้วยหลักการและจุดมุ่งหมาย  ส่วนที่ 2 กระบวนการในการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 นำเสนอสถานการณ์ปัญหา  ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมฝึกคิดรายบุคคล  ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมฝึกคิดระดับกลุ่ม  ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอผล  และขั้นตอนที่ 5 ประเมินกระบวนการคิด
ส่วนที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ

                2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนใช้รูปแบบการสอน นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร้อยละ 54.43 และหลังใช้รูปแบบการสอนนักเรียนมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ร้อยละ 88.41 มีค่าความต่าง ร้อยละ 33.98

                3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                This research aimed to develop a mathematics teaching model for enhancing critical thinking of Prothomsuksa 6 students. The data collecting was conducted by the 2 steps of research and development method: R&D consisted of 1) Develop the teaching model and examine the quality of a mathematics teaching model for enhancing critical thinking. The model was verified by using the seminar based-group of professionals known as connoisseurship consisting of 7 experts, and 2) Try-out and evaluate a teaching model. The sample group was 32 students of Bansuankhuaen School. The collected data were analyzed using percentage, mean. Standard deviation, paired t – test (dependent)

                The results of the study revealed that:

                1. The mathematics teaching model for enhancing critical thinking of Prothomsuksa 6 students consisted of 3 parts: Part 1) The suggestion for a teaching model consisting of principle and objective, Part 2) a teaching process consisted of 5 steps: 1) situational presentation, 2) individual thinking activity, 3) group thinking activity, 4) result presentation, and 5) thinking evaluation process, and Part 3) a teaching model assessment.

                2. The students in Prothomsuksa 6 students before using a teaching model students percent 54.43. The after using a teaching model students percent 88.41. The difference 33.98.

                3. The students in Prothomsuksa 6 have the critical thinking of a sample group after teaching was a significant higher than before using a mathematics teaching model at the .05 level.

Article Details

Section
Dissertations