การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6; Development of Science Teaching Instruction to Enhance 6th Grade Students’ Adversity Quotient

Main Article Content

รุ่งระวี สุขแย้ม และคณะ Rungrawee Sukyam and Other

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การพัฒนารูปแบบการจัด           การเรียนการสอน และ (2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยการวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษา    ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 24 คน โดยใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียน และแบบทดสอบ                   วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังเรียน         โดยวิธีของวิลคอกซัน และการทดสอบของครัสคาลและวัลลิส

                ผลการวิจัยพบว่า

                     1. รูปแบบการสอนที่พัฒนาจากแนวคิดแบบสืบเสาะหาความรู้และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียน มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ ขั้นตอนการจัดการเรียน    การสอนและการวัดประเมินผล โดยขั้นตอน มี 6 ขั้นได้แก่ 1) เผชิญปัญหาและอุปสรรค  2) วางแผนกำหนดเป้าหมาย  3) ปฏิบัติการแก้ปัญหา  4) รวบรวมข้อมูลเพื่อสรุป  5) ประเมินและปรับปรุง และ 6) รู้ค่าและเสริมพลัง ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

                2. ผลการศึกษาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในการเรียนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน พบว่า 1) นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันมี ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคไม่แตกต่างกัน  2) ความสามารถในการเผชิญอุปสรรคหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

Abstract

                This research aimed to develop science teaching instruction to enhance 6th grade students’ adversity quotient and to study the effects of using the developed science teaching instruction. The research processes consisted of 2 steps. The first step was to develop teaching instruction. The second step was to explore the application of developed teaching instruction by evaluating students’ adversity quotient and science learning achievement. The sample consisting of 24 students of 6th grade at Tedsabanwatsainua School, academic year 2015 selected by cluster random sampling. The research was using one group pretest-posttest design and to compare differences of students’ adversity quotient before and after learning through Wilcoxon and Kruskal–Wallis Test.

                The results revealed that:

          1) The science teaching instruction was developconsisted of 5 elements including concepts and principles, objectives, content, instructional processes and assessment and evaluation. The instructional processes consisted of 6 steps including: (1) Problem, (2) Plan, (3) Perform,(4) Collecting data for summary, (5) Proper Evaluation and (6) Powerfulness. The level of appropriatness is high.

                2) The investigation of the application on science teaching instruction to enhance 6th grade students’ adversity quotient who had different learning achievement revealed that; (1) there were no differences of adversity quotient among students with different learning achievement at a statistical significance of 0.05; (2) the adversity quotient of students after taught by the developed teaching instruction was higher than before taught at a statistical significance of .01 and; (3) the science learning achievement after taught by the developed teaching instruction was higher than before taught by the developed teaching instruction at a statistical significance of .01.

Article Details

Section
Dissertations