ผลของการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ไอซีทีสำหรับนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ; The Results of Using Activities to Promote ICT Learning for Business Administration Students

Main Article Content

พิรภพ จันทร์แสนตอ Piraprob Junsantor

Abstract

                งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ไอซีทีสำหรับนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ  2) ผลการปฏิบัติงานตามกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ไอซีทีสำหรับนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ  3) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ไอซีทีสำหรับนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 40 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสอบถามความพึงพอใจ

                ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ไอซีทีสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลการประเมินการฝึกปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวนผู้เข้ารับการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีผลการประเมินการฝึกปฏิบัติในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.00 การปฏิบัติงานในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 10.50 การปฏิบัติงานในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 1.50
3) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการส่งเสริมการเรียนรู้มีความพึงพอใจเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

                This research aims to 1) compare the learning achievement of students pre and post learning with activities to promote ICT learning 2) study the performance by promoting the ICT learning for Business Administration Students, 3) study the satisfaction after promoting the ICT learning for Business Administration Students. The target group was 40 students of 4th year in the program of International Business Management of Lampang Rajabhat University, selected by simple random sampling method. The research instruments were a guide for activities to promote ICT learning, a quiz, and a satisfaction questionnaire. The results of the study were as follows 1) the posttest achievement was higher than the pretest at the significance level of .05; 2) the performance was at the highest level; 3) the satisfaction of students was at high level.

Article Details

Section
Dissertations
Author Biography

พิรภพ จันทร์แสนตอ Piraprob Junsantor, Rajabhat Mahasarakham University

\bar{x}\bar{x}