ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านวิชาการและด้านบรรยากาศโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร; Factors of Administrator Leadership, Academic, and School Climate Affecting Effectiveness of Private Early Childhood Schools in

Main Article Content

กรรณิการ์ สุสม, Kannikar Susom สุดารัตน์ สารสว่าง, สุชาดา นันทะไชย, สุนันท์ ศโกสุม

Abstract

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านวิชาการ และด้านบรรยากาศโรงเรียนที่ส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 แห่ง โดยมีครูโรงเรียนละ 1 คน เป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง โปรแกรมสำเร็จรูป LISREL

                   ผลการวิจัยพบว่า

                   จากแบบจำลองของสมการโครงสร้างมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 1.42)การประมาณค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลอง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านวิชาการ และปัจจัยด้านบรรยากาศโรงเรียน ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.59 และ 0.36 ปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านวิชาการ และปัจจัยด้านภาวะผู้นำแบบปฏิรูปมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.32 และ 0.80 แต่ปัจจัยด้านภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนไม่ได้ส่งผลทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ทุกปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิผลได้ร้อยละ 90 

Abstract

                   This research aimed to analyze academic leadership factor and school climate factor of the administrators, which directly and indirectly affects effectiveness of private early childhood schools in Bangkok. The samples were 247 private early childhood schools in Bangkok, one teacher from each of which were selected. The data-collecting instruments were the set of five-scaled questionnaires. The structural esx 3equation modeling with LISREL computer program was utilized to analyze the data.

                   The findings showed that:

                   It revealed that the developed structural equation model was well consistent with empirical data ( = 1.42) The coefficient analysis found that the factors directly affecting school effectiveness were academic factor and climate school factor. The coefficient values for each factor were 0.59 and 0.36, respectively. Moreover, the factors which were rindirectly effecting school effectiveness were academic factor and transactional leadership factor. Their coefficient values were 0.32 and 0.80, respectively. Transformational leadership factor was not effecting directly and indirectly on school effectiveness. All factors could be counted for 90 percent of the school effectiveness variance.

Article Details

Section
Dissertations