การพัฒนาบัณฑิตครูของสถาบันอุดมศึกษาตามทฤษฎีทวิปริทัศน์ และแนวคิดการเรียนรู้ ในพื้นที่ที่สาม; Professional Development of Student Teachers in Higher Education Institutions Based on the Application of Hybridity Theory and Third Space Concept
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การพัฒนาบัณฑิตครูของสถาบันอุดมศึกษาตามทฤษฎีทวิปริทัศน์ และแนวคิดการเรียนรู้ ในพื้นที่ที่สาม ในบทความนี้ เริ่มต้นจากการที่ได้ศึกษาแนวทางและกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูตามทรรศนะของนักวิชาการด้านการศึกษาของประเทศไทยกับสถาบันผลิตครูในต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมให้ป็นครูที่มีคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 จากการศึกษาทฤษฎีทวิปริทัศน์ และการเรียนรู้ในพื้นที่ที่สาม ทั้งแนวคิดและแนวทางการประยุกต์ใช้ในด้านการจัดการศึกษา โดย First space เป็นภาคทฤษฎีที่นิสิตได้รับในสถาบันผลิตครู Second space เป็นการฝึกประสบการณ์ในโรงเรียนของนิสิต และ Third space เป็นพื้นที่ที่ทั้งสามฝ่ายร่วมมือกันที่จะก่อเกิดสิ่งใหม่ แสดงให้เห็นว่า การผสานต่อระหว่างภาคทฤษฎีและการฝึกประสบการณ์ โดยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องสามฝ่ายได้แก่ สถาบันผลิต โรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพ และนิสิตครู เพื่อก่อให้เกิดสิ่งใหม่คือ นิสิตครูที่มีคุณภาพ บทความนี้จึงเน้นสังเคราะห์แนวคิด และกระบวนการของแต่ละสถาบันออกมาขยายความเพื่อให้เห็นแนวทางการปฏิบัติ ตลอดจนผลที่คาดหวัง เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนานิสิตครูในอนาคต
Abstract
Professional development of student teachers in higher education institutions based on the application of Hybridity Theory and Third Space Concept was emerged from the prior study while developing the Teaching Professional Experience Model for enhancing the Required Characteristics of Teachers in the 21st Century. From the study the meaning and application of the Hybridity Theory and Third Space Concept in which apply into the use in Educational field, First space is academic achievement provided by university, Second space is an internship in school, and Third space is a space of collaboration from all three parties in order to deliver a new emergence. In this article, the hybrid area between theory and internship under the collaboration of three parties; university, school, and student teacher, was bridged to the new emergence of qualified student teachers. This article aims to indicate into details and expected outcome from the practical process, and it also delivers viewpoints from the study in order to be a choice for professional development for student teachers in the future.