การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการให้ข้อมูลป้อนกลับ แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น; The Development of Science Learning Assessment Model Focusing on Feedback Information for Lower Secondary Students

Main Article Content

กฤษณา ชินสิญจน์; Krissana Shinnasin พรทิพย์ ไชยโส; Porntip Chaiso; ชาตรี ฝ่ายคำตา; Chartree Faikhamta

Abstract

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์    ที่เน้นการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  2) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มที่ศึกษาเลือกแบบอาสาสมัครได้แก่ ครูวิทยาศาสตร์และนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

                   ผลการวิจัยพบว่า

                   1. รูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการให้ข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วย  2 องค์ประกอบหลัก คือ 1) องค์ประกอบของการประเมิน ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการประเมิน หลักการของการประเมิน สิ่งที่มุ่งประเมิน ผู้เกี่ยวข้องกับการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด  2) กระบวนการของการประเมิน ได้แก่ การประเมินความก้าวหน้า การประเมินสรุปผลและการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ PERFECT

                   2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน คือ  1) สามารถนำไปใช้ได้จริงในการประเมินเพื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับและมีความคุ้มค่าต่อผู้ใช้ผลการประเมิน  2) สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์และมีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน  3) การให้ข้อมูลป้อนกลับแบบ PERFECTสามารถช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ และ         4) สามารถสะท้อนความสามารถของนักเรียนได้อย่างแท้จริง มีการลงข้อสรุปและรายงานผลที่มีความเป็นปรนัย

Abstract

                   The purpose of this study was  1) To develop a science learning assessment model focusing on feedback information for lower secondary students.  2) To test the quality of science learning assessment model focusing on feedback information for lower secondary students. The samples were taken by volunteers. The group of this study consisted of science teachers and students in lower secondary level at Kasetsart University Laboratory School, Center for Educational. The frequency, percentage average, mean standard deviation and content analysis.

                   The findings indicated as follows:  

                   1. Science learning assessment model focusing on feedback information for lower secondary students consisted of 2 key components which were  1) Components of assessment consisting of objectives, principles, evaluants, stakeholders, and learning standards and indicators 2) Process of assessment consisting of formative assessment, summative assessment, and feedback information of PERFECT model.

                   2. Regarding the outcomes of the implementation of science learning assessment model focused on feedback information, the study found that the model processed quality in assessment standards:  1) the
model could be practicable, acceptable, and useful for stakeholders. 2) The model could enhance the students, academic achievement in accord with the objectives and teaching and learning management.         3) To provide feedback from PERFECT model could help the students improve science learning according to learning standards and indicators and  4) The model reflected the students, learning abilities accurately. The conclusions of the assessment reports were objectivity.

Article Details

Section
Dissertations