การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนเอกชน; Internal Supervision Model Development Based on Lesson Study Approach For Private Schools

Main Article Content

นพพรพรรณ ญาณโกมุท; Noppornpan Yankomut ไชยรัตน์ ปราณี; Chairat Pranee; สิริพร ปาณาวงษ์; Siriporn Panawong

Abstract

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน  2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูโรงเรียนอุทิศศึกษาที่สอนในระดับประถมศึกษาทั้งหมด จำนวน 40 คน การพิจารณาร่างรูปแบบโดยใช้วิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และประเมินคุณภาพรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการนิเทศภายใน แบบประเมินความสามารถเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการนิเทศภายใน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน ตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน

                   ผลการวิจัยพบว่า

                   1.  รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน มีองค์ประกอบด้วยกัน 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการนิเทศภายในและส่วนที่ 4 การประเมินผล ผลการพิจารณาและประเมินคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.51 และผลการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบ อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ซึ่งสามารถไปใช้ทดลองได้

                   2.  ผลการใช้รูปแบบ พบว่า หลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียนครูมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้และสมรรถนะในการนิเทศภายในสูงขึ้นโดยแยกเป็นรายด้าน ดังนี้    1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการนิเทศภายใน หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการนิเทศภายใน หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

Abstract

                   This research aimed to develop an internal supervision model based on the approach of lesson study and to investigate the utilization results of the model. The study sample comprised 40 elementary school teachers of Uthitsuksa school. The development of the model was done by holding a connoisseurship of 9 experts and the assessment of the model was done by 5 evaluation connoisseurs. The research instruments were a form for quality assessment of the model, a test on knowledge and understanding about learning management and internal supervision, a learning management and an internal supervision ability assessment form and a questionnaire on satisfaction towards the utilization of the model.

                   The findings are as follows:

                   1.  Internal supervision model development based on lesson study approach has 4 constituent: there are the principle, the aim, the internal supervision, and the assessment of the model. The results obtained from the connoisseurship and from the quality assessment of the experts were appropriated at the highest level of 4.51 and accordance withan index of congruency between 0.80–1.00, indicating that the developed model was feasible in practice. 

                   2.  The study results found that after the utilization of the model, the teachers had higher level of competency in both learning management and internal supervision in the following aspects:  1) The test revealed that their knowledge and understanding about learning management and internal supervision after using the model was higher than that before using significantly at the .05 level.  2) Overall, the learning management ability management and internal supervision ability assessment after using the model was higher than that before using significantly at the .05 level. 

Article Details

Section
Dissertations