การสร้างบทเรียนท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ; Lessons Creation of Social Studies Religion and Culture, and Arts Department
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาบริบทของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท 2) สืบค้นองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และ 3) สร้างบทเรียนท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองและนักเรียน สังกัดโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยลงพื้นที่ภาคสนาม ใช้เทคนิคการสังเกต สำรวจ สัมภาษณ์ ศึกษาเอกสาร จัดเวทีชาวบ้าน และการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการสรุปอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า
1. บริบทของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท ประกอบด้วย ชุมชนบ้านร่องดู่ ชุมชนบ้านวังเดื่อ ชุมชนบ้านสะแกกรัง และชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง
2. องค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีดังนี้ 1) ชุมชนบ้านร่องดู่ มีการปลูกผักอุ้มน้องที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 2) ชุมชนบ้านวังเดื่อ มีหลวงพ่อจ้อย พระนักพัฒนา ประเพณีแห่ธงสรงน้ำพระ 3) ชุมชนบ้านสะแกกรัง มีวิถีชีวิตชุมชนของกลุ่มเรือนแพ วัฒนธรรมและประเพณี และ4)ชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง สภาพปัญหา ความต้องการและวิถีความพอเพียงของชุมชนเขาราวเทียนทอง
3. บทเรียนท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ประกอบด้วย โรงเรียนวัดศรีอุทุมพร โรงเรียนหนองบัว โรงเรียนวัดอุโปสถาราม และโรงเรียนบ้านเขาราวเทียนทอง ได้สร้างบทเรียนท้องถิ่น 9 เรื่อง ได้แก่ 1) ประเพณีและวัฒนธรรมที่ล้ำเลิศในชุมชน 2) ประเพณีและความเชื่อที่เหลืออยู่ 3) สังคมดีประเพณีเด่น 4) โรงสีข้าวชุมชนศรีอุทุมพร 5) ระบำอุ้มน้อง 6) การทำภาพสามมิติ “ผักอุ้มน้อง พืชท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์” 7) วิถีชีวิตชุมชนชาวแพสะแกกรัง 8) ประวัติความเป็นมาของชุมชนขาวราวเทียนทอง และ 9) การก่อตั้งป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง
Abstract
This research object to 1) study the context of local resource of the Social Studies, Religion and Culture, and Arts department in Community life in Nakhon Sawan, Uthai Thani, and Chainat province 2) search the knowledge from the learning process in the Social Studies, Religion and Culture,vand Arts department 3) create local lessons of the Social Studies, Religion and Culture, and Arts department. The study samples were teachers students to School in Nakhon Sawan, Uthai Thani, and Chainat province. The data was collected by down the field to survey, interview, study documents, staging, focus group and knowledge exchange. Data were analyzed using content analysis. The finding showed that
1. The context of local resource of the Social Studies, Religion and Culture, and Arts department in Community life in Nakhon Sawan, Uthai Thani, and Chainat province include Ban Rong Du community, Ban Wang Dua community, Ban Sakae Krang community and Ban khao rao tian tong community.
2. The knowledge from the learning process in the Social Studies, Religion and Culture, and Arts department search the knowledge from the learning process in the Social Study, Religion and Culture, and Arts department are as follows: 1) Ban Rong du have planted vegetables picked that can create income for the people in the community. 2) Ban Wang Dua have Lung Phor Joy the developer of the community. Traditional flag pour water. 3) Ban Sakae Krang have community life raft, culture and tradition And 4) Khao rao tian tong community, problems, needs and route sufficiency of Khao rao tian tong community.
3. Local lessons of the Social Studies, Religion and Culture, and Arts department include Sri Utumporn school, Nongbua school, Wat Uposataram school and Ban khao rao tian tong school, to create nine local lessons as following, 1) The superior of tradition and culture of the community, 2) Traditions and beliefs that are left, 3) Good society and identity tradition, 4) Sri Utumporn community rice mill. 5) Um Nong dancing, 6) The three-dimensional image of Um nong the local plant that should be reserved, 7) The way of life of Sakae krung floating house boat community, 8) The history of khao rao tian tong community and 9) The establishment of community forests of Khao Rao Tian-Tong.