แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38; Guidelines for Educational Institution Administration in Accordance with the Principles of Philosophy Sufficiency E

Main Article Content

สมรภูมิ อ่อนอุ่น Samorapurm Oonoun

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและนำเสนอการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาการบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้น ที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38 จำนวน 265 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตาก โดยการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และการบริหารงานทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง 2. แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษา 1) แนวทางการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ครูด้านสื่อการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน 2) แนวทางการบริหารงานงบประมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อดำเนินการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษา ให้คณะกรรมการสถานศึกษาและครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3) แนวทางการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาวางแผนอัตรากำลังบุคลากรที่มีอยู่ให้ตรงตามความต้องการที่แท้จริง รวมถึงส่งบุคลากรไปอบรมกับหน่วยงานภายนอกอยู่เป็นประจำ 4) แนวทางการบริหารงานทั่วไป ได้แก่ ด้านงานกิจการนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีการประชุมผู้ปกครองประจำปีการศึกษา เพื่อชี้แจงกฎระเบียบของโรงเรียนแก่ผู้ปกครอง 

Abstract

                The purposes of this study were to study the problems and propose educational institution administration in accordance with the Principles of Sufficiency Economy Philosophy of secondary schools in Tak province under the Secondary Educational Service Area Office 38. This study consisted of two stages. The first stage was to study the problems about educational institution administration in accordance with the Principles of Philosophy Sufficiency Economy of secondary schools  in Tak province under the Secondary Educational Service Area Office 38. The participants were 265 school directors and teachers in secondary schools in Tak province under the Secondary Educational Service Area Office 38. The data collection instruments were five rating scale questionnaire. The reliability of the questionnaire was .95. The statistics used to analyze the data in this study were percentage, mean, and standard deviation. The second stage was to propose the ways based on educational institution administration in accordance with the Principles of Sufficiency Economy Philosophy of secondary schools in Tak province by holding the meeting with seven experts and analyzing data using content analysis. The findings of this study were as follows:

                1. The problems of educational institution administration according to  the Principles of Sufficiency Economy Philosophy were at high level. 2. The guidelines for educational institution administration in accordance with the Principles of Sufficiency Economy Philosophy of secondary schools were categorized into four issues: 1) the guidelines for the academic administration, 2) the guidelines for the budget administration, 3) the guidelines for the personnel administration, and 4) the guidelines for the general administration. 

Article Details

Section
Research Articles