การพัฒนาทางการเมืองกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ในสังคมไทย (พ.ศ.2549-2556); Political Development and Political Conflict Solution in Thai Society (2006-2013)

Main Article Content

จิรัฐิติภัค คลังเพ็ชร์ Jirattiphak Klungphet

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทาการเมืองกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยในช่วง พ.ศ. 2549-2556 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาทางการเมืองกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในช่วง พ.ศ. 2549-2556 ว่าส่งผลต่อกันหรือไม่อย่างไร 3) เพื่อเสนอแนะปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยที่มีต่อการพัฒนาทางการเมือง ตลอดจนปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในภาคเหนือตอนล่าง 6 จังหวัด ประกอบด้วย เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และนครสวรรค์ จำนวน 2,498 คน จากประชาชนทั้งหมด 3,990,072 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอน (Canonicon Correlation)

                ผลการวิจัยพบว่า 1. ความขัดแย้งทางการเมืองด้านความขัดแย้งจากการใช้อำนาจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ความคิดเห็นที่แตกต่าง ความขัดแย้งการพัฒนาที่ไม่เป็นธรรม ความขัดแย้งการไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและความขัดแย้งการดำเนินงานของรัฐบาลที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนการพัฒนาทางการเมืองด้านความเสมอเท่าเทียมกัน ความเสมอภาพของระบบการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การพัฒนาทางการเมืองด้านการแบ่งโครงสร้างทางการเมือง ความเป็นอิสระของระบบย่อยและด้านความไว้ใจทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อการพัฒนาทางการเมืองในด้านความเสมอภาพเท่าเทียมกัน ความเสมอภาพของระบบการเมือง การแบ่งโครงสร้างทางการเมือง และด้านความไว้ใจทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน 3. ข้อเสนอแนะปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยที่มีต่อการพัฒนาทางการเมือง การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้มากยิ่งขึ้น การสร้างความรู้ความเข้าใจในความคิดเห็นที่แตกต่าง สร้างความปองดองสมานฉันท์ ความสามัคคีของคนในชาติ 

Abstract

                The purposes of the research were 1) to study the level of the factors affecting political development and political conflict solutions in Thai society between 2006 and 2013 2) to study how the relationship of political development and political conflict solutions in Thai society between 2006 and 2013 affect each other and 3) to suggest conflict problems in Thai society towards political development including other related factors. The samples used in the research were the people who have the right for vote in 6 provinces located in the lower north area; Phetchabun, Pichit, Phitsanulok, Sukhothai, Kamphaengphet and Nakornsawan; it consisted of  2,498 people from the 3, 990, 072 populations in total. The research tool used to collect data was a questionnaire. The data was analyzed by a statistical packaged program with frequency, percent, mean,  standard deviation and canonical correlation analysis.

                The research findings were: 1. The overall of political conflict, power usage was high; meanwhile, cultural conflict, belief, value, disagreement, conflict in unfair development, conflict of justice distrustfulness and conflict in government operations all were moderate. However, the overall results of political development for equality and equality of political system were high. In addition, the results of political development of political structural division, independence of sub-systems and political reliability were moderate. 2. The relationship of political conflict affecting political development for equality, equality of political system,  political structural division and political reliability was in the same direction. 3. The suggestions of conflict problems in Thai society towards political development:  to promote more political public participations in the democratic system,  to make understanding of disagreement and to build up reconciliation and the unity of the nation.

Article Details

Section
Research Articles