พัฒนากลยุทธ์การบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์; A Development of Strategies for Management the Centre of Vector Borne Disease Control 9.2 Phetchabun Province

Main Article Content

ไทยบุญยงค์ พ่วงพีอภิชัย Thaiboonyong Puangpeeapichai

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ประเมินพัฒนากลยุทธ์การบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์ วิธีดำเนินการวิจัยคือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัย พบว่า 1.สภาพการบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีการวางแผนปฏิบัติการประจำปี โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่การบริหารตามโครงสร้างมีการมอบหมายงานตามความสามารถของบุคลากร ผู้บริหารให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและมีการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินงานการบริหารปัญหาการบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน ด้านการควบคุม ด้านการนำ และด้านการจัดองค์การมีระดับปัญหาอยู่ในเกณฑ์ปานกลางโดยด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านการควบคุม ด้านการนำ  และด้านการจัดองค์การ สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์พบว่าผู้บริหารเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์อยู่ในระดับมาก รองมาได้แก่ ด้านบุคลากรปฏิบัติงานบริหาร ด้านนโยบายของรัฐบาลและหน่วยเหนือ และด้านสังคม 2. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยวิสัยทัศน์ 4 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็นกลยุทธ์ 7 กลยุทธ์ 7 ตัวชี้วัด และ20 มาตรการ 3. ผลการประเมินความสอดคล้องของกลยุทธ์การบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก 

Abstract

                This research aimed to study; 1) state, problems and factors of strategy for management the Center of Vector Borne Disease Control 9.2, Phetchabun Province. 2) To develop the strategy for management the Center of Vector Borne Disease Control 9.2, Phetchabun Province. 3) Evaluate the strategy for management the Center of Vector Borne Disease Control 9.2, Phetchabun Province. The data obtained by using questionnaires, in-depth interview, group discussion, workshop, expert seminars and evaluation strategy. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, andcontent analysis.

                The results are as follows. 1. General Management of the Center of Vector Borne Disease Control 9.2 has planned the annual operation, set the roles of management to follow its structure, assigned job under the competence of personnel. Administratives and colleagues were involved in decision-making and incentives for worker performance. There was the committee to monitor and evaluate administrative tasks. It was revealed that the overall problems of management of the Center of Vector Borne Disease Control 9.2, Phetchabun Province were at a middle level. Besides, planning, controlling, performance and organization wereat a middle level. Planning was at the highest average, followed by the controlling, performance and organization. Administrative committee was at a high factor that effect to management of the Center of Vector Borne Disease Control 9.2, followed by personnel, government policy and social context.  2. To develop the strategy for management the Center of Vector Borne Disease Control 9.2, Phetchabun Provinceshall be consists of vision, 4 missions, 4 aims, 4 strategies issue, 7 strategies, 7 Indicators and 20 procedure. 3. Evaluation of the strategy for management the Center of Vector Borne Disease Control 9.2, Phetchabun Province was consistency, suitability, feasibility, and utility at a high level.

Article Details

Section
Research Articles