การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างในเขตภาคเหนือตอนล่าง; Development Model of Knowledge Management In Polytenical College In The Lower Northern Region

Main Article Content

ปฏิมา พุฒตาลดง Patima Phuttaldong

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างในเขตภาคเหนือตอนล่าง วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 โดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คนซึ่งได้มา โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และ การสัมภาษณ์เชิงลึกโดย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จากสถานศึกษา 7 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 21 คน ขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วย 1) การศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้ โดยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ 2) การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความรู้ โดยวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ มี ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 25 คนและ 4) จัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างในเขตภาคเหนือตอนล่างด้วยแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน การวิเคราะห์ข้อมูลในทุกขั้นตอนใช้การหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการความรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างในเขตภาคเหนือตอนล่างพบว่ามีการสร้างความตระหนักให้กับครูทุกฝ่ายในสถานศึกษาให้เห็นความสำคัญของการวางแผนเพื่อกำหนดความรู้ส่งเสริมให้บุคลากรมีการทำงานเป็นทีม ปัญหาการจัดการความรู้พบว่าขาดการรวบรวมความรู้และจัดลำดับความสำคัญความรู้ที่จำเป็น ความต้องการการจัดการความรู้พบว่าต้องการสร้างความตระหนักในการค้นคว้าหาความรู้ให้แก่บุคลากรปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จการจัดการความรู้ มี 5 ด้าน 1) ภาวะผู้นำ 2) วัฒนธรรมขององค์การ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารความรู้ 4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5) ด้านการวัดผลและการประเมินผล 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างในเขตภาคเหนือตอนล่างรูปแบบการจัดการความรู้มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ปัจจัยนำเข้าของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) ผลผลิตของรูปแบบ 6) ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 3. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ของวิทยาลัยสารพัดช่างในเขตภาคเหนือตอนล่างพบว่าเป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุดและระดับมาก

Abstract

                The purposes of research are to development of Knowledge Management of the Polytechnic College in the Northern Region Lower. The research has three steps along the purposes, step 1 using questionnaire with representative sample 165 people which are acquired by way of a stratified random sampling and in-depth interviews 21 people of seven schools, including administrators and teachers. Step 2; 1.) Studying knowledge management model of school where is success in knowledge management with analyzing of documents and interviews. 2.) Studying component of knowledge management model by analyzing of document and interviews. 3.) Workshops with experts, including are 25 of luminaries, administrators and teachers and 4.) Seminars are expert 9 people. Step 3 Evaluate model for knowledge management of polytechnic colleges in the northern region lower with questionnaire by 17 experts. Analyzing the data of all step derived from the percentage, median, standard deviation and content analysis.

                The results were presented as below. 1. Management of the Polytechnic College in the Northern Region Lower was found having to build the realizing with planning for encourage personnel of teamwork was found lack total of knowledge and prioritize the necessary knowledge. Factors relating to the success of knowledge management are 5. 1) Leadership 2) Cultural of organization, 3) Information technology and Communication of knowledge 4) Infrastructure 5) Measurement and Evaluation. 2. The results developing form for knowledge management of polytechnic colleges in the northern region lower there are knowledge management features six components: 1) the principle 2) objective 3) input 4) process 5) output 6) success. 3. Results evaluation of model for knowledge management of polytechnic colleges in the northern region lower, it is very appropriate and benefit.

Article Details

Section
Research Articles