สภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเพชรบูรณ์; The Conditions of Classroom and Learning Environment Management in Small Educational Institutions Belonging to the Office of

Main Article Content

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์ Nattawan Limprasong

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methodology) โดยขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเรื่องการบริหารจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เรื่องการบริหารจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ 11 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหาร และครูผู้สอนแห่งละ 3 คน รวม 33 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ (f) ค่าร้อยละ (p) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)   และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพ

                ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 49.60 อยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการจัดการความรู้เรื่องการบริหารจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ย (=3.54, S.D.=0.798) 3)รูปแบบการจัดการความรู้เรื่องการบริหารการจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ จากการอภิปรายกระบวนการกลุ่ม ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบ ของผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้ข้อค้นพบโดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ 1. ด้านการจัดการปัญหาเร่งด่วน 2. ด้านบริหารจัดการชั้นเรียน และ 3. ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

Abstract

                This study applied the mixed methodology. That is, the qualitative methodology was employed at the beginning and the quantitative methodology, at the final stage of the study. The purposes of this study were (1) to investigate problems and needs of classroom and learning environment management in each educational institution, and (2) to develop the knowledge management format concerning classroom and learning environment management in basic education institutions in Phetchabun. The subjects of this study were collected by using purposive sampling, including 11 schools under Phetchabun Primary Educational Service Area, consisting of school 11 directors, 11 school assistant directors, 11 teachers and 130 second-year students from Phetchabun Rajabhat University. The total number of data providers was 163. The research instruments were unstructured interview and questionnaire. Frequency, Percentage, mean , and standard deviation . The study also required a qualitative analysis for the qualitative data.

                The study found that: 1.The overall condition of classroom and learning environment management had the average percentage of 49.60, which was at the medium level. 2. The knowledge management format concerning classroom and learning environment management in basic education institutions in Phetchabun in general had the mean of 3.54 and the S.D. of 0.798. 3. The qualitative results of the investigation of knowledge management format concerning classroom and learning environment management from a group discussion and the workshop participants' suggestions on the development of the format was found to be 3 aspects including (1) urgent problem solving, (2) classroom management, and (3) learning environment management.

Article Details

Section
Research Articles