ผลการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อความสามารถ ในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลชาย อายุ 16 – 18 ปี; Effect of Agility Training Program on Football Dribbling Ability of 16 – 18 Years old Male Footballers

Main Article Content

อำนาจ ธูปบูชา; Amnat Thupbucha สมเกียรติ เนตรประเสริฐ; Somkiat Netprasert

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลชาย อายุ 16 – 18 ปี  2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไว (กลุ่มทดลอง) กับการฝึกซ้อมตามปกติ (กลุ่มควบคุม) ที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ผลการวิจัยพบว่า

                   1. ผลของการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกความแคล่วคล่องว่องไวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลชาย อายุ 16 – 18 ปี พบว่า กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ย  = 14.82, S.D = 0.54 และกลุ่มควบคุม  = 16.49, S.D.= 0.53

                   2. การฝึกเสริมด้วยโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลในกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ย 16.49, 15.74 และ 14.82 วินาที ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 0.35, 0.37 และ 0.53 วินาที ตามลำดับ ในกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ย 16.59 16.46 และ 16.49 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 0.35, 0.37 และ 0.53 วินาที

                   3. ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูก เท่ากับ 16.49 และ 16.59 วินาที ตามลำดับ หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล เท่ากับ 15.74 และ 16.46 วินาที ตามลำดับ หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล เท่ากับ 14.82 และ 16.49 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล พบว่า หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีความสามารถในการเลี้ยงฟุตบอลมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                   The Objectives of research were 1) to study the effect of agility training program on football dribbling ability of the 16 – 18 years old male and 2) to compare the results of training using this program of football dribbling ability of footballer with that using the normally practice.

                   The findings are as follows:

                   1. The results of training by the program revealed that the ability in football dribbling of the experimental group (Age 16 – 18 years) was  = 14.82, S.D. = 0.54 and that of the control group was  = 16.49, S.D. = 0.53.

                   2. With respect to the agility training program, the means of ability in dribbling football before training and then 4 weeks and 8 weeks after training were 16.49, 15.74 and 14.82 second, S.D = 0.35, 0.37 and 0.53 seconds respectively. Those of the control group, on the other hand, were 16.59, 16.46 and 16.49 seconds, S.D = 0.35, 0.37 and 0.53 seconds respectively.

                   3. Before training, the experimental group and the control group had the ability dribbling at the average of dribbling 16.49 and 16.59 seconds respectively. After 4 weeks, the experimental group and the control group had the average dribbling ability of 15.74 and 16.46 seconds respectively. After 8 weeks the experimental group and the control group had the average of dribbling ability 14.82 and 16.49 seconds respectively. The comparison of agility in dribbling ability after 4 weeks and 8 weeks of training revealed that the experimental group has more ability in dribbling than the control group significantly at the level of .05

Article Details

Section
Dissertations