ผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่มีต่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนศูนย์ประสานงานทางการศึกษาวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท; The Effects of a Health Promotion Program on Prathomsuksa 4 Students in the School C
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนศูนย์ประสานงานทางการศึกษาวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกายนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนศูนย์ประสานงานทางการศึกษาวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนศูนย์ประสานงานทางการศึกษาวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท นักเรียน จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 5 รายการ2) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายโดยการทดสอบค่า t แบบกลุ่มไม่อิสระ (t-test for dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
สมรรถภาพทางกายด้านงอตัวข้างหน้า ยืนกระโดดไกล ลุก-นั่งเวลา 30 วินาที วิ่งเก็บของ และวิ่งเร็วระยะ 50 เมตร รวม 5 ด้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the physical fitness of Prathomsuksa 4 students in the School Coordination Center for Education, Watsing, under the Education Service Area Office of Primary Education, Chainat, and 2) to compare the differences of physical fitness of Prathomsuksa 4 students in the School Coordination Center for Education, Watsing, under the Education Service Area Office of Primary Education, Chainat before and after using the health promotion physical fitness program. The samples consisted of 168 students in Prathomsuksa 4 in School Coordination Center for Education Watsing under the Education Service Area Office of Primary Education, Chainat. The instruments used in this study were the physical fitness and the health promotion physical fitness program, which were brought to check for content validity and objectivity by a group of 5 authorities. Statistical devices included arithmetic mean, standard deviation and t – test.
The results from this study revealed that physical fitness in 5 items (Sit and Reach Test, Standing Broad Jump, Sit – ups in 3 seconds, Shuttle Run and 50 Meters Run) for Prathomsuksa 4 students before and after using the health promotion physical fitness program was significantly different at the 0.05 level.