สมรรถภาพกลไกและดัชนีมวลกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลนครนครสวรรค์; Motor Fitness and Body Mass Index among Primary 4-6 Students from a Group of Municipal Schools in Nakhon Sawan Municipality
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสมรรถภาพกลไกและดัชนีมวลกายของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลนครสวรรค์ 2)เพื่อศึกษาระดับสมรรถภาพกลไกและดัชนีมวลกายของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลนครสวรรค์ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพกลไกและดัชนีมวลกายของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลนครนครสวรรค์ ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 1,200 คน นักเรียนชาย 600 คน นักเรียนหญิง 600 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบสมรรถภาพกลไกของโอเรกอน แบ่งออกเป็น2 ลักษณะได้แก่ 1) ข้อทดสอบสำหรับนักเรียนชาย 3 รายการ ประกอบด้วย การยืนกระโดดไกล การดันพื้น การลุก-นั่ง 2) ข้อทดสอบสำหรับนักเรียนหญิง 3 รายการ ประกอบด้วย การยืนกระโดดไกล การงอแขนห้อยตัว และการลุก-นั่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพกลไก
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีพัฒนาการของระดับสมรรถภาพทางกายไม่เท่ากัน จากระดับสมรรถภาพทางกายต่ำ ขึ้นไปถึงระดับสมรรถภาพปานกลาง จากระดับสมรรถภาพทางกายปานกลางขึ้นไปถึงระดับสมรรถภาพทางกายดี และระดับสมรรถภาพทางกายดี ขึ้นไปถึงระดับสมรรถภาพทางกายดีมาก
2. สมรรถภาพทางกายนักเรียนก่อนและหลังการทดสอบ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานได้เที่ยงตรง
3. ได้เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพกลไกและดัชนีมวลกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลนครนครสวรรค์
Abstract
This study was conducted with the objecives of: 1) To study motor fitness and body Mass index, the study was conducted on primary 4-6 students from a group of municipal schools in Nakhon Sawan Municipality. 2) To build up the level of motor fitness and body mass index, the study was conducted on primary 4-6 students from a group of municipal schools in Nakhon Sawan Municipality. 3) To draw up standard criteria for motor fitness and body mass index, the study was conducted on primary 4-6 students from a group of municipal schools in Nakhon Sawan Municipality. The sample group included 1200 students. Among these, 600 were boys, and 600 were girls, and were chosen by random selection through several procedures. The tool used in the compiling of data was Oregon’s Motor Fitness Test, which was devided into two versions. 1) Test for boy students, which included 3 programs: broad-jump (long-jump), floor push-up, knee-touch sit-up. 2) Test for girls students, which included 3 programs: broad-jump (longjump), hang on horizontal bar with arms in flexed position, knee-touch sit-up. Data were analyzed by calculating mean values (), standard deviation values, (S.D.), and standard criteria of motor fitness.
Results of the study found that
1. There were differences in the development of motor Fitness. These were from the level of low motor fitness to the level of medium motor fitness. Then from the level of medium motor finess to the level of good, and from the level of good to the level of excellent.
2. Motor fitness of students before and after the test can be taken for comparison accurately with standard criteria.
3. The results were up to the standard criteria as stipulated for motor fitness and body mass index for students of primary 4-6 among municipal schools in Nakhon Sawan Municipality.