ผลของการฝึกความคล่องตัวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงอายุ 12-15 ปี; Effect of Agility Training in Football Dribbling Ability of LowerSecondary School Student Football Playersof 12 – 15 Years Old

Main Article Content

จิตติ พลไพรินทร์; Chitti Polpairin สมเกียรติ เนตรประเสริฐ; Somkiat Netprasert

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการฝึกความคล่องตัวที่มีต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล และเพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกความคล่องตัวกับการฝึกการเล่นเกม ในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงอายุ 12-15 ปี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักกีฬา
ฟุตบอลชายโรงเรียนบ้านเนิน ตำบลโคกหม้อ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 12-15 ปีจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความคล่องตัวของกรมพลศึกษา การเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มการฝึกความคล่องตัวและกลุ่มฝึกการเล่นเกมเป็นจำนวน    8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันอังคารถึงวันศุกร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หาค่า
เฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระจากกัน

                ผลการวิจัยพบว่า

                ก่อนการฝึก ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอลของนักกีฬาฟุตบอลกลุ่มการฝึกความคล่องตัว กลับกลุ่มการฝึกการเล่นเกม โดยกลุ่มการฝึกความคล่องตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.84 วินาที และกลุ่มการฝึกการเล่นเกม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.00 วินาที โดยค่าเฉลี่ยของความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการฝึก 4 สัปดาห์กลุ่มการฝึกความคล่องตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.76 วินาที และกลุ่มการฝึกการเล่นเกม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.99 วินาที แสดงว่าหลังการฝึก 4 สัปดาห์ กลุ่มการฝึกความคล่องตัวมีค่าเฉลี่ยเวลาน้อยกว่ากลุ่มการฝึกการเล่นเกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการฝึก 8 สัปดาห์ หลังการฝึก 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มการฝึกความคล่องตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.72 วินาที และกลุ่มการฝึกการเล่นเกม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.93 วินาที แสดงว่าหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มการฝึกความคล่องตัวมีค่าเฉลี่ยเวลาน้อยกว่ากลุ่มการฝึกการเล่นเกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

                   The research aims to study the effects of practicing agility with the ability of dribble. To compare the results of the training, agility training games. The Ability The dribbling of football. Junior high age range 12-15 years group. Including soccer players from Hill House School District, Nakhon Sawan Province Chum Saeng Khok Mo. Junior high aged 12-15 years, the number 40 was used in the research test the agility of the Department of Physical Education. The data collected from the training, agility training and playing the game for eight weeks, four days a week, Tuesday through Friday. The data were analyzed for mean, standard deviation, t - test for independent sample group.

                   The results showed that

                   Before coaching the ability to dribble the soccer group training agility. The group returned to practice the game. By practicing agility with an average of 22.84 seconds and coaching the game. With an average of 24.00 seconds by an average of dribbling ability. The difference was statistically significant at the .05 level. After training for four weeks with an average of 20.76 seconds and coaching the game. With an average of 23.99 seconds that after training for four weeks of training agility with an average of less than practicing to play a significant statistical level. 05 after training for eight weeks after training for eight weeks. By practicing agility With an average of 19.72 seconds and coaching the game. With an average of 23.93 seconds that after eight weeks of training, agility training, with an average time of less than practicing to play a significant statistical level. 05.

Article Details

Section
Dissertations